Page 145 - kpiebook65024
P. 145
144 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีในรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย
รัฐธรรมนูญอินเดียฉบับ ค.ศ. 1950 มีแนวคิดหลักการของแนวนโยบายแห่งรัฐ
ซึ่งมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าในการสถาปนารัฐสวัสดิการ (Welfare State) โดยมี
จุดมุ่งหมายไม่แต่เฉพาะจัดตั้งระบอบประชาธิปไตยทางการเมือง (Political Democracy)
เท่านั้น แต่ยังต้องการให้มีประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและสังคม (Economic and
Social Democracy) เพื่อสร้างความยุติธรรมทางสังคม–เศรษฐกิจ (Socio–Economic
Justice) ภายใต้รัฐสวัสดิการด้วยเนื่องจากแนวคิดทฤษฎีระบบเศรษฐกิจเสรีโดยที่
รัฐบาลไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง (Laissez Faire) ในศตวรรษที่ 19 ไม่ได้มีอิทธิพลทาง
ความคิดต่อคณะผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญอินเดียแต่อย่างใด แต่ได้รับเอาปรัชญาสังคมนิยม
(Philosophy of Socialism) อันเป็นที่นิยมแพร่หลายกันทั่วโลกในเวลานั้น จึงท�าให้
คณะผู้ยกร่างยึดถือแนวคิดว่า ประชาธิปไตยทางการเมืองที่ปราศจากการปลดปล่อย
ให้เป็นอิสรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมนั้นเป็นเพียงภาพลวงตา ดังนั้น จึงจ�าเป็นต้อง
ก�าหนดบทบัญญัติประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจไว้ในแนวนโยบายแห่งรัฐไว้ในรัฐธรรมนูญ
อินเดียด้วย ดังนั้น หลักการที่อยู่ในแนวนโยบายแห่งรัฐซึ่งรัฐธรรมนูญได้บัญญัติ
ให้เป็นหลักการพื้นฐานของระเบียบใหม่ทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งในการบัญญัติ
แนวนโยบายแห่งรัฐไว้ในรัฐธรรมนูญอินเดีย ฉบับ ค.ศ. 1950 นั้น ได้รับอิทธิพล
แนวความคิดจากรัฐธรรมนูญไวมาร์ของประเทศเยอรมนีและรัฐธรรมนูญของประเทศ
ไอร์แลนด์โดยเฉพาะขบวนการชาตินิยมไอริช (Irish Nationalist Movement)
(ธีรวัฒน์ ขวัญใจ, 2549) รวมทั้งค�าประกาศเอกราชสหรัฐอเมริกา ค.ศ.1776 ปฏิญญา
สิทธิมนุษยชนของการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ.1789 และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
แห่งสหประชาชาติ (Pylee, M.V., 1999 อ้างใน สุรพล ศรีวิทยา, 2560: น.119)