Page 142 - kpiebook65024
P. 142

141




           ให้ประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทยได้ใช้เป็นแบบอย่างในการก�าหนดบทบัญญัติ

           ดังกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ดีรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งเรียกว่า “กฎหมาย
           พื้นฐานแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี” (The Basic Law for the Federal Republic
           of Germany) ประกาศใช้เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1949 (สภาวิจัยแห่งชาติ, 2516)

           โดยมิได้ยึดถือตามรัฐธรรมนูญไวมาร์ซึ่งบัญญัติแนวหลักการของนโยบายสังคมไว้ใน

           รัฐธรรมนูญ แต่กฎหมายพื้นฐานกลับบัญญัติไว้ในมาตรา 20 เพียงให้สหพันธ์สาธารณรัฐ
           เยอรมันเป็นรัฐประชาธิปไตยและสหพันธ์รัฐสังคม (Social Federal State) โดยมิได้
           ก�าหนดบทบัญญัติว่าด้วยแนวหลักการของนโยบายสังคมไว้ในรัฐธรรมนูญ ต่อมาเมื่อ

           มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายพื้นฐานเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 ได้ก�าหนดไว้

           ในมาตรา 20a ว่า “รัฐในความรับผิดชอบต่ออนุชนรุ่นหลังในอนาคตต้องพิทักษ์ปกป้อง
           พื้นฐานธรรมชาติแห่งชีวิตมนุษย์และสัตว์ภายในกรอบแห่งระเบียบรัฐธรรมนูญฉบับนี้
           (Constitutional Order) โดยการนิติบัญญัติตามกฎหมายและความยุติธรรมโดย

           ฝ่ายบริหารและศาล” จึงถือได้ว่ารัฐธรรมนูญเยอรมนีปัจจุบันให้ความส�าคัญต่อ
           แนวนโยบายแห่งรัฐเฉพาะด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


                  รัฐธรรมนูญไวมาร์ซึ่งมีบทบัญญัติรวมทั้งสิ้น 181 มาตรา ได้บัญญัติ

           “แนวหลักการของนโยบายสังคม” (Directive Principles of Social Policy) ไว้ในหมวด 2
           มาตรา 109–165 (Main Part 2: Basic Rights and Obligations of Germans)
           (บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ, 2552) ซึ่งได้ก�าหนดหน้าที่ของรัฐไว้ในมาตรา 142–150 ได้ก�าหนด

           แนวนโยบายด้านการศึกษาให้แก่รัฐในการจัดการศึกษาทั้งในระดับรัฐและรัฐบาลท้องถิ่น

           โดยก�าหนดการศึกษาทั้งระดับประถมศึกษาเป็นสิ่งจ�าเป็นภาคบังคับและระดับการศึกษา
           ขั้นสูงขึ้นไป ประชาชนมีสิทธิทางการศึกษาโดยไม่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายจนถึงอายุ 18 ปี
           ซึ่งสอดคล้องกับสิทธิเสรีภาพในการได้รับการศึกษาของประชาชน
   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147