Page 140 - kpiebook65024
P. 140
139
รัฐธรรมนูญฯ ห้ามการส่งเสริมให้กลุ่มศาสนาหนึ่งอยู่เหนืออีกกลุ่มศาสนาหนึ่งรวมทั้ง
การเลือกปฏิบัติ (Discrimination) บนพื้นฐานของศาสนาหรือศรัทธาความเชื่อ ทั้งนี้
โดยรัฐบาลจะไม่จ�ากัดการสอนหรือการปฏิบัติตามศรัทธาความเชื่อทางศาสนาใด ๆ
เนื่องจากไอร์แลนด์ไม่มีศาสนาประจ�าชาติ (No State Religion) นอกจากนี้รัฐธรรมนูญฯ
ยังบัญญัติว่า “การตีพิมพ์หรือการพูดดูหมิ่นศาสนา” (Publication or Utterance of
Blasphemous Matter) ถือเป็นความผิดที่ต้องถูกลงโทษตามกฎหมาย
(2) แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐในรัฐธรรมนูญเยอรมนี
หลังจากการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 แล้ว ประเทศเยอรมนีได้มีการเปลี่ยนแปลง
ทางการเมืองที่ส�าคัญ คือ ได้มีการเปลี่ยนรูปของรัฐเยอรมันจากราชอาณาจักร (Kingdom)
มาเป็นสาธารณรัฐ (Republic) โดยในส่วนของการร่างรัฐธรรมนูญไวมาร์ ค.ศ. 1919
มีปัญหาในเบื้องต้นว่า จะใช้แนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา
ตามแนวทางของประเทศภาคพื้นยุโรปตะวันตกหรือจะใช้แนวทางสภาโซเวียตตาม
ระบอบสังคมนิยมอย่างที่ประสบความส�าเร็จในประเทศรัสเซีย อย่างไรก็ดีในท้ายที่สุด
ก็ได้มีการประนีประนอมกันเพื่อสถาปนาสาธารณรัฐภายใต้ระบอบประชาธิปไตย
ในระบบรัฐสภาและได้ประกาศให้รัฐธรรมนูญไวมาร์มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม
ค.ศ. 1919 โดยใช้การปกครองระบบรัฐสภา กล่าวคือ มีสภาแห่งอาณาจักรท�าหน้าที่
นิติบัญญัติและควบคุมฝ่ายบริหาร สภาที่ปรึกษาแห่งอาณาจักรท�าหน้าที่เป็นตัวแทน
แห่งมลรัฐ รัฐบาลแห่งอาณาจักร (Reichsregierung) ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีแห่ง
สหพันธ์และรัฐมนตรีต่าง ๆ โดยมีประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์เป็นประมุขของประเทศ
(บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ, 2535)