Page 131 - kpiebook65024
P. 131

130   ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีในรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย




        รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2540 จึงได้ก�าหนดให้รัฐจะต้องปฏิบัติตามแนวนโยบายพื้นฐาน

        แห่งรัฐอย่างเป็นรูปธรรมและชัดเจน อีกทั้งยังได้ก�าหนดสภาพบังคับขั้นพื้นฐานไว้ด้วยว่า
        คณะรัฐมนตรีที่เข้ามาบริหารราชการแผ่นดินต้องชี้แจงว่าจะด�าเนินการให้เป็นไปตาม
        แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามที่ก�าหนดไว้ในรัฐธรรมนูญและต้องจัดท�ารายงานแสดง

        ผลการด�าเนินการรวมทั้งปัญหาอุปสรรคเสนอต่อรัฐสภาปีละหนึ่งครั้งด้วย (โฉมศรี

        อารยะสิริ, 2545. ใน สุรพล ศรีวิทยา, 2560: น.188)

                ในส่วนของขอบเขตแห่งเนื้อหาของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ จากการศึกษา

        วิเคราะห์สาระส�าคัญของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 พบว่า ขอบเขต
        แห่งเนื้อหาของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐในแต่ละมาตรามีความแตกต่างกับ

        แนวนโยบายแห่งรัฐที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญ 6 ฉบับที่ผ่านมาก่อนหน้านั้นหลายประการ คือ
        แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐได้ก�าหนดภาระหน้าที่ต่าง ๆ หลายประการที่แนวนโยบาย

        แห่งรัฐในรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ มิได้ก�าหนดไว้ (อัชพร จารุจินดา, 2555 ใน สุรพล
        ศรีวิทยา. 2560: 191) เช่น ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการก�าหนดนโยบาย

        การตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การตรวจสอบ
        การใช้อ�านาจรัฐ การกระจายอ�านาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการท้องถิ่น

        การพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นขนาดใหญ่ การจัดให้มี
        แผนพัฒนาการเมือง มาตรฐานคุณภาพและจริยธรรม การอุปถัมภ์คุ้มครองพระพุทธ

        ศาสนาและศาสนาอื่น ส่งเสริมให้ประชาชนรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
        การจัดให้มีสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ


                จึงเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2540 มีขอบเขตแห่งเนื้อหาในการบัญญัติ
        เฉพาะแนวนโยบายแห่งรัฐที่มีความส�าคัญในระดับที่ถือว่าเป็นนโยบายพื้นฐานอย่าง

        แท้จริง ไม่ใช่นโยบายซึ่งผันแปรไปตามกาลเวลาหรือเป็นความต้องการเฉพาะหน้าที่
   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136