Page 123 - kpiebook65024
P. 123

122   ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีในรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย




                      ทอมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) จอห์น ล๊อค (John Locke) และ
                      ฌอง ฌาค รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) โดยมีข้อเสนอความคิด

                      ที่ส�าคัญ คือ รัฐถือก�าเนิดมาจากความยินยอมพร้อมใจกันของประชาชน
                      เพื่อต้องการที่จะใช้ประโยชน์จากรัฐร่วมกัน รัฐมีเป้าหมายเพื่อคุ้มครอง

                      รักษาประโยชน์และการสร้างความสุขสมบูรณ์สูงสุดให้แก่ประชาชน
                      ทั่วไป รัฐพึงใช้อ�านาจอธิปไตยซึ่งเป็นอ�านาจสูงสุดทางการเมือง

                      การปกครองของประชาชนเพื่อการสนองตอบและรับผิดชอบต่อ
                      ประโยชน์สุขของประชาชนน�าไปสู่ภาระหน้าที่ที่ส�าคัญของรัฐ

                      ในหลายประการ อาทิภาระหน้าที่ในการสร้างเครื่องมือทาง
                      การปกครอง เช่น การตรากฎหมาย การก�าหนดนโยบาย การสร้าง

                      องค์กรและมาตรการทางการบริหาร รวมทั้งการให้สิทธิ เสรีภาพ
                      และความเสมอภาคแก่ประชาชน ซึ่งเห็นเป็นรูปธรรมมากที่สุดคือ

                      การที่ประเทศต่าง ๆ ได้รัฐธรรมนูญใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศ
                      (โกวิทย์ วงศ์สุรวัฒน์, ม.ป.ป.: น.65)

                  (3)  แนวความคิดรัฐสหประโยชน์นิยม เป็นแนวความคิดทางการเมืองที่

                      ผสมผสานระหว่างลัทธิเสรีประชาธิปไตยสังคมนิยมและประโยชน์นิยม

                      ซึ่งเกิดขึ้นในยุโรปตะวันตกช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18-19 นักปรัชญา
                      ทางการเมืองในกลุ่มนี้คือ เจเรมี เบนทัม (Jeremy Bentham) และ
                      จอห์น ออสติน (John Austin) มีข้อเสนอความคิดที่ส�าคัญคือ การใช้

                      เครื่องมือทางกฎหมายของรัฐเพื่อสนับสนุนการสร้างประโยชน์สูงสุด

                      ให้แก่คนจ�านวนมากที่สุด บนพื้นฐานของการเคารพสิทธิ เหตุผล
                      ความเสมอภาคของประชาชน โดยมุ่งยึดถือเอาผลประโยชน์สูงสุดของ
                      คนจ�านวนมากที่สุดเป็นที่ตั้ง มีรัฐเป็นแกนน�าในการก�าหนดกฎหมาย
   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128