Page 117 - kpiebook65024
P. 117
116 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีในรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย
2. ความแตกต่างของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐกับ
นโยบายของรัฐบาล
แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเป็นบทบัญญัติที่ก�าหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทยหลายฉบับรวมถึงฉบับปัจจุบัน คือ พ.ศ. 2560 หมวด 6 ตั้งแต่
มาตรา 64 ถึงมาตรา 78 โดยก�าหนดความมุ่งหมายไว้ในมาตรา 64 ว่า “บทบัญญัติ
ในหมวดนี้เป็นแนวทางให้รัฐด�าเนินการตรากฎหมายและก�าหนดนโยบายในการ
บริหารราชการแผ่นดิน” และมาตรา 65 “รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมาย
การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดท�าแผน
ต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมาย
ดังกล่าว การจัดท�า การก�าหนดเป้าหมาย ระยะเวลาที่จะบรรลุเป้าหมายและสาระ
ที่พึงมีในยุทธศาสตร์ชาติ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
ทั้งนี้กฎหมายดังกล่าวต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมและการรับฟัง
ความคิดเห็นของประชาชนทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึงด้วย ยุทธศาสตร์ชาติเมื่อได้
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้”
ส่วนนโยบายของรัฐบาลได้บัญญัติไว้ในมาตรา 162 ว่า “คณะรัฐมนตรีที่จะ
เข้าบริหารราชการแผ่นดินต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาซึ่งต้องสอดคล้องกับหน้าที่
ของรัฐ แนวนโยบายแห่งรัฐ และยุทธศาสตร์ชาติ และต้องชี้แจงแหล่งที่มาของรายได้
ที่จะน�ามาใช้จ่ายในการด�าเนินนโยบาย โดยไม่มีการลงมติความไว้วางใจ ทั้งนี้ภายใน
สิบห้าวัน นับแต่วันเข้ารับหน้าที่ ก่อนแถลงนโยบายต่อรัฐสภาตามวรรคหนึ่ง หากมีกรณี
ที่ส�าคัญและจ�าเป็นเร่งด่วน ซึ่งหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะกระทบต่อประโยชน์ส�าคัญของ
แผ่นดิน คณะรัฐมนตรีที่เข้ารับหน้าที่จะด�าเนินการไปพลางก่อนเพียงเท่าที่จ�าเป็นก็ได้”