Page 60 - kpiebook65018
P. 60
59
สิทธิในเชิงกลุ่ม เพราะหากเป็นสิทธิในเชิงกลุ่มแล้วย่อมต้องอาศัยมติของกลุ่มร่วมกัน
เพื่อเรียกร้องสิทธิร่วมกัน (collective right) ด้วยแต่หากเป็นสิทธิของประชาชน
แต่ละคนที่เป็นสิทธิเชิงเดี่ยวแล้วย่อมหมายความว่า บุคคลแต่ละคนสามารถแยกกัน
เรียกร้องสิทธิของตนหรือจะรวมกันในลักษณะเพื่อเรียกร้องสิทธิของแต่ละบุคคล
ร่วมกันได้ อย่างไรก็ดี มีข้อสังเกตว่า รัฐธรรมนูญฯ น่าจะประสงค์ใช้ค�าว่า “ประชาชน”
ในลักษณะของสิทธิเชิงเดี่ยวมากกว่าที่จะมุ่งหมายให้ใช้เป็นสิทธิเชิงกลุ่ม เนื่องจาก
หากกฎหมายประสงค์จะใช้ค�าว่า “ประชาชน” ในลักษณะของสิทธิเชิงกลุ่มย่อม
ไม่จ�าเป็นต้องใช้ร่วมกันกับค�าว่า “ชุมชน” ซึ่งเป็นสิทธิเชิงกลุ่มอยู่แล้ว หากตีความ
ว่า “ประชาชน” ที่ใช้ร่วมกับค�าว่า “ชุมชน” ว่าเป็นสิทธิเชิงกลุ่มก็จะเป็นการกล่าวถึง
ผู้ทรงสิทธิเชิงกลุ่มซ�้าซ้อนกันกับชุมชน เพราะประชาชนย่อมหมายถึงบุคคลที่อยู่ใน
ชุมชนนั้น ๆ อยู่ในตัว 40
จากข้อสังเกตทั้งหมดเกี่ยวกับการใช้ถ้อยค�าข้างต้น ผู้เขียนจึงมีความเห็นว่า
ควรมีการพิจารณาเพื่อแก้ไขปรับปรุง หรือสร้างความเข้าใจในเจตนารมณ์ของการใช้
ถ้อยค�าที่แตกต่างกันเกี่ยวกับ “ผู้ทรงสิทธิ” ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ไม่เกิด
ปัญหาในการเรียกร้องหรือต่อสู้คดีเพื่อใช้สิทธิในทางศาลเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของ
ผู้ทรงสิทธิในอนาคตว่า สิทธิเสรีภาพนั้นเป็นสิทธิของ “บุคคล” “ชุมชน” หรือ “ประชาชน”
ที่จะเรียกร้องในฐานะสิทธิเชิงเดี่ยวหรือสิทธิเชิงกลุ่ม
40 เรื่องเดียวกัน, หน้า 151.