Page 57 - kpiebook65018
P. 57
56 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
สิทธิและหน้าที่ของพลเมือง
“บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิ...” โดยรัฐธรรมนูญฯ เอง ก็มิได้บัญญัตินิยามความหมาย
ของค�าว่า “ชุมชน” ไว้
หากพิจารณาการใช้ค�าว่า “บุคคล” ในบางมาตรา อย่างกรณีมาตรา 4
วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค
ของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง”หรือมาตรา 25 วรรคสาม และวรรคสี่ ที่บัญญัติว่า
“บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ สามารถ
ยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้”
และ “บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพหรือจาก
การกระท�าความผิดอาญาของบุคคลอื่น ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาหรือช่วยเหลือ
จากรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ” ในขณะที่มาตรา 25 วรรคสอง ปรากฏค�าว่า “บุคคล
และชุมชน” กล่าวคือ “สิทธิหรือเสรีภาพใดที่รัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามที่กฎหมาย
บัญญัติ หรือให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ แม้ยังไม่มีการ
ตรากฎหมายนั้นขึ้นใช้บังคับ บุคคลหรือชุมชนย่อมสามารถใช้สิทธิหรือเสรีภาพนั้น
ได้ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ” ย่อมท�าให้เกิดการตั้งค�าถามว่า เหตุใดการใช้สิทธิ
หรือเสรีภาพตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญตามมาตรา 25 วรรคสองนั้น ใช้ค�าว่า
“บุคคลหรือชุมชน” ในขณะที่หากมีการละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่ได้รับความคุ้มครอง
ตามรัฐธรรมนูญ และต้องการยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเพื่อใช้สิทธิทางศาล
หรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้ หรือการได้รับการเยียวยา หรือช่วยเหลือจากรัฐ
กลับกลายเป็นสิทธิของ “บุคคล” ซึ่งในเอกสารความมุ่งหมายและค�าอธิบายประกอบ
รายมาตราของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ก็มิได้มีการอธิบาย
เรื่องดังกล่าวไว้
นอกจากนี้ ยังมีข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้ถ้อยค�า “ประชาชนหรือชุมชน”
ที่ปรากฏตามมาตรา 43 (3) กล่าวคือ