Page 59 - kpiebook65018
P. 59
58 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
สิทธิและหน้าที่ของพลเมือง
จากข้างต้น จึงมีข้อสังเกตว่าเมื่อกล่าวถึง “สิทธิ” มักจะใช้ควบคู่กันไประหว่าง
ค�าว่า “บุคคล” หรือ “ประชาชน” กับค�าว่า “ชุมชน” อย่างค�าว่า “บุคคลและชุมชน”
“ประชาชนหรือชุมชน” โดยไม่มีมาตราใดแยกสิทธิของชุมชนออกมาบัญญัติเป็นเอกเทศ
ต่างหากจากสิทธิของบุคคล ขณะที่สิทธิของบุคคลได้รับการบัญญัติแยกเป็นเอกเทศ
ซึ่งแสดงให้เห็นโดยนัยตามรัฐธรรมนูญฯ ฉบับนี้ได้ว่า “ชุมชน” อาจมิได้มีสิทธิโดย
เอกเทศแยกเป็นอิสระออกจากบุคคลหรือประชาชน แต่ชุมชนจะมีสิทธิหรือใช้สิทธิได้
ต้องพึ่งพาหรือใช้ควบคู่ไปกับสิทธิของบุคคลหรือประชาชนด้วย มิเช่นนั้นแล้วจะต้องมี
การกล่าวถึงสิทธิชุมชนเป็นเอกเทศแยกต่างหากจากสิทธิของปัจเจกบุคคล 39
นอกจากนี้ ตัวบทรัฐธรรมนูญมีการใช้ถ้อยค�าเกี่ยวกับผู้ทรงสิทธิที่สามารถ
ตีความได้หลากหลายนัยแตกต่างกัน อย่างกรณีค�าว่า “บุคคลและชุมชน” หรือ
“ประชาชนหรือชุมชน” สองค�านี้เมื่อใช้แตกต่างกันในแต่ละแห่งแต่ละมาตรา
ย่อมตีความได้ว่าผู้ร่างฯ อาจมีเจตนาให้มีความหมายที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ค�าว่า “บุคคล” กับค�าว่า “ประชาชน” โดยค�าว่า “บุคคล” ในความหมายทั่วไป
หมายถึงมนุษย์หรือบุคคลเพียงคนเดียวไม่ว่าจะเชื้อชาติหรือสัญชาติใดก็ตาม
และหากพิจารณาในแง่ของ “สิทธิ” ย่อมตีความได้ว่าเป็นสิทธิเชิงเดี่ยวหรือสิทธิของ
ปัจเจกบุคคล (individual rights) แต่ละคนได้ แต่ค�าว่า “ประชาชน” นั้นมีความหมาย
ในทางพหูพจน์ คือบุคคลหลายคนรวมกัน ซึ่งอาจตรงกับภาษาอังกฤษว่า “people”
ซึ่งเป็นสิทธิเชิงเดี่ยวในลักษณะที่เป็นคนแต่ละคน หลาย ๆ คนมารวมกัน หรืออาจ
เป็นสิทธิเชิงกลุ่มที่ตรงกับตราสารระหว่างประเทศมักจะใช้ตรงกับค�าว่า “peoples”
ซึ่งมุ่งหมายถึงประชาชนหลาย ๆ คนมีสิทธิร่วมกันในลักษณะเชิงกลุ่ม ดังนั้น ปัญหา
ที่จะต้องเกิดขึ้นก็คือค�าว่า “สิทธิของประชาชน” นั้นหมายถึงสิทธิในเชิงเดี่ยวหรือ
39 เรื่องเดียวกัน, หน้า 151.