Page 54 - kpiebook65018
P. 54
53
ในขณะเดียวกัน พบว่าหน้าที่ของรัฐบางอย่างที่รัฐธรรมนูญฯ ก�าหนดไว้
กลับไม่ได้ก�าหนดให้บุคคลมีสิทธิเสรีภาพ เช่น หน้าที่ของรัฐในการจัดบริการสาธารณะ
ทางการศึกษา (มาตรา 54) ทั้ง ๆ ที่สิทธิทางการศึกษาเป็นสิทธิประเภทที่ประชาชน
สามารถเรียกร้องเอาจากรัฐได้ อย่างไรก็ตาม อาจมีการถกเถียงว่า หากมีการก�าหนด
ให้เป็นหน้าที่ของรัฐแล้ว ถือเป็นอันทราบกันว่าประชาชนย่อมมีสิทธิในเรื่องนั้น ๆ ด้วย
ซึ่งก็สามารถตีความเช่นนั้นได้ แต่สิ่งที่ผู้เขียนพึงชี้ให้เห็นคือ การแยกสิทธิเสรีภาพ
ของปวงชนชาวไทยออกเป็นคนละหมวดกับหน้าที่ของรัฐ ไม่มีความจ�าเป็น และอาจ
ท�าให้เกิดปัญหาและข้อสงสัยว่า เหตุใดเรื่องหนึ่งก�าหนดให้เป็นหน้าที่ของรัฐ แต่ไม่ถูก
ก�าหนดให้เป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชน และเหตุใดอีกเรื่องหนึ่งเป็นทั้งหน้าที่ของรัฐ
และสิทธิเสรีภาพประชาชน นอกจากนั้น อีกประเด็นหนึ่งที่ตั้งเป็นข้อสังเกตคือ
หากบุคคลถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ สามารถยก
บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเพื่อใช้สิทธิทางการศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้
(มาตรา 25) โดยมีสิทธิยื่นค�าร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อมีค�าวินิจฉัยว่าการกระท�านั้น
ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ (มาตรา 213) โดยใช้ช่องทางตามพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 (มาตรา 46 -
มาตรา 48) ซึ่งหากเป็นกรณีที่ประชาชนหรือชุมชนต้องการฟ้องร้องให้รัฐด�าเนินการ
ตามหน้าที่ของรัฐในหมวด 5 (มาตรา 51) ต้องไปใช้ช่องทางตามมาตรา 45 แห่ง
พระราชบัญญัติพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของ
ศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561
ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าการก�าหนดให้เรื่องใดเป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชน
หรือหน้าที่ของรัฐนั้น ย่อมส่งผลต่อการใช้ช่องทางและกระบวนการในการติดตามฟ้อง
ร้องที่ต่างกัน ทั้ง ๆ ที่ หน้าที่ของรัฐบางอย่างที่รัฐต้องด�าเนินการนั้น เป็นสิทธิเสรีภาพของ
ประชาชนอยู่แล้ว รวมถึงหากบุคคล ประชาชนหรือชุมชน ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพ