Page 52 - kpiebook65018
P. 52
51
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ยังคงเป็นปัญหา ส�าหรับรัฐไทยคือ การบังคับใช้กฎหมายที่
ยังไม่สามารถเคารพ (respect) คุ้มครอง (protect) และเติมเต็ม (fulfill) ซึ่งสิทธิ
เสรีภาพของประชาชนได้สมตามเจตนารมณ์ที่รัฐธรรมนูญฯ ได้บัญญัติไว้ ดังนั้น จึงเป็น
ประเด็นส�าคัญที่ควรต้องกลับมาพิจารณาทบทวนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2560 ว่ามีมาตรการหรือกลไกที่คุ้มครองและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ
ของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ซึ่งนอกจากการใช้กลไกติดตาม เร่งรัด
และฟ้องร้องแล้ว ในอีกแง่หนึ่งก็มีความจ�าเป็นที่จะต้องใช้กลไกในการหนุนเสริมโดย
การส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักรู้ถึงสิทธิเสรีภาพพลเมืองโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม
ในภาคการเมือง โดยผู้เขียนเห็นควรเพิ่มบทบาทของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ในการให้ความรู้ที่เกี่ยวกับการเรียกร้อง หรือเร่งรัดให้รัฐปฏิบัติหน้าที่ต่อบุคคลหรือ
ชุมชนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญและเห็นควรเพิ่มภารกิจหน้าที่
ในการช่วยเหลือและให้ค�าแนะน�าแก่ประชาชนเกี่ยวกับการติดตาม เร่งรัดในการขอรับ
การรับรองและคุ้มครองสิทธิตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้โดยเจ้าหน้าที่ในหมวด 5
หน้าที่ของรัฐ
นอกจากนั้นแล้ว ในการบัญญัติเนื้อหาเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน
ภายในหมวดนั้น ควรต้องพิจารณาให้ครอบคลุมถึงมิติของสิทธิเสรีภาพ ทั้งในแง่มิติ
“สิทธิเชิงเนื้อหา” คือ สิทธิที่เป็นสาระและมีอยู่เพื่อตัวสิทธินั้นเอง เช่น สิทธิในชีวิต
สิทธิในร่างกาย สิทธิในทรัพย์สิน เป็นต้น และ “สิทธิเชิงกระบวนการ” คือ สิทธิที่
เป็นเครื่องมือในการท�าให้เข้าถึงสิทธิเชิงเนื้อหาหรือท�าให้สิทธิเชิงเนื้อหาเกิดผลหรือ
บังคับใช้ได้ ซึ่งมีอยู่หลายประเภท เช่น สิทธิในข้อมูลข่าวสาร สิทธิในการมีส่วนร่วม
สิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น ซึ่งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฯ นั้น
มักให้ความส�าคัญกับสิทธิเชิงเนื้อหา แต่ไม่ได้ก�าหนดสิทธิเชิงกระบวนการที่เข้าถึงสิทธิ
เชิงเนื้อหานั้น รวมถึงแม้จะก�าหนดสิทธิเชิงกระบวนการไว้แล้วก็ตาม ทว่าในทางปฏิบัติ