Page 55 - kpiebook65018
P. 55
54 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
สิทธิและหน้าที่ของพลเมือง
ที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ จากการที่รัฐไม่ด�าเนินการตามหน้าที่ ก็จะท�าให้
เกิดความสับสนว่าควรใช้ช่องทางใดดีกว่ากัน จากที่กล่าวมาข้างต้น ผู้เขียนจึงเห็นควรว่า
ไม่จ�าต้องมีการแยกหมวดระหว่าง “สิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย” กับหมวด
“หน้าที่ของรัฐ” แต่ควรใช้วิธีการบัญญัติกฎหมายโดยตั้งสิทธิเสรีภาพของประชาชน
ตอนต้นของมาตรา และหากสิทธิเสรีภาพของประชาชนเรื่องใด ต้องการก�าหนดให้รัฐ
มีหน้าที่ ก็ให้ก�าหนดหน้าที่ของรัฐเป็นวรรคท้ายของสิทธิเสรีภาพในแต่ละมาตราเพื่อให้
เกิดความเชื่อมโยงกันระหว่างสิทธิเสรีภาพของประชาชนกับหน้าที่ของรัฐ ตลอดจนต้อง
กลับมาทบทวนช่องทางและกระบวนการในการติดตามฟ้องร้องกรณีบุคคลถูกละเมิด
สิทธิเสรีภาพ กับกรณีประชาชนหรือชุมชนฟ้องร้องว่ารัฐไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของรัฐนั้น
ว่า ควรใช้ช่องทางและกระบวนการอย่างไรที่ไม่ท�าให้เกิดความสับสนและลักลั่นกัน
อนึ่ง มีตัวอย่างของรัฐธรรมนูญในต่างประเทศที่มิได้มีการก�าหนดแยกหน้าที่
ของรัฐออกมาจากสิทธิเสรีภาพของประชาชน แต่ใช้วิธีการอธิบายสิทธิเสรีภาพ
ของประชาชนไปควบคู่กับหน้าที่ของรัฐ ดังเช่น กรณีรัฐธรรมนูญของประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งนอกจากบัญญัติสิทธิเสรีภาพของประชาชนไปพร้อมกับหน้าที่ของรัฐ ยังรวมสิทธิ
34
เสรีภาพของประชาชนและหน้าที่ของพลเมืองในหมวดเดียวกันด้วย (หมวด 3 สิทธิและ
หน้าที่ของประชาชน ) กรณีของการบัญญัติไว้ในปฏิญญาสิทธิมนุษยชนและพลเมือง
35
34 Article 20. Freedom of religion is guaranteed to all. No religious organization
shall receive any privileges from the State, nor exercise any political authority.
No person shall be compelled to take part in any religious act, celebration,
rite or practice.
The State and its organs shall refrain from religious education or any other
religious activity.
35 CHAPTER III RIGHTS AND DUTIES OF THE PEOPLE