Page 51 - kpiebook65018
P. 51
50 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
สิทธิและหน้าที่ของพลเมือง
ระหว่างประเทศ (International Human Rights Law) ซึ่งประกอบด้วยตราสาร
ระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน (International Bill Of Rights) หลายฉบับที่บรรดา
ประเทศทั่วโลกต่างเข้าร่วมเป็นภาคี ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย รัฐไทยจึงมีหน้าที่ต้อง
“เคารพ” กล่าวคือ ประชาชนมีสิทธิเรียกร้องให้รัฐต้องหลีกเลี่ยงที่จะเข้าไปแทรกแซง
หรือลิดรอนการใช้สิทธิมนุษยชนของบุคคลแต่ละคน ต้อง “ปกป้อง” หมายถึง ประชาชน
มีสิทธิเรียกร้องให้รัฐต้องปกป้องปัจเจกชนหรือกลุ่มต่าง ๆ จากการละเมิดสิทธิมนุษยชน
และต้องท�าให้บรรลุผล หรือ “เติมเต็ม” โดยประชาชนมีสิทธิเรียกร้องให้รัฐต้องก�าหนด
มาตรการเชิงบวก เพื่ออ�านวยความสะดวกให้บุคคลแต่ละคนสามารถใช้สิทธิมนุษยชน
ได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพสูงสุดโดยเฉพาะสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการยอมรับ
ในทางระหว่างประเทศ ต้องถูกแปรรูปเข้ามาอยู่ในรัฐธรรมนูญในฐานะที่เป็น “สิทธิ
ตามรัฐธรรมนูญ” และเป็น “สิทธิขั้นพื้นฐาน” ที่พลเมืองแต่ละคนพึงได้รับและสามารถ
ที่จะอ้างความมีอยู่ของสิทธิ รวมถึงเรียกร้องสิทธิของตนเองได้ในกรณีที่ถูกละเมิดสิทธิ
33
ไม่ว่าจะถูกละเมิดโดยรัฐหรือโดยบุคคลอื่นใดก็ตาม ซึ่งที่ผ่านมาพัฒนาการในการบัญญัติ
รับรองเนื้อหาเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนในรัฐธรรมนูญของประเทศไทยนั้น
ถือว่ามีความเจริญก้าวหน้ามาเป็นล�าดับ รวมถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2560 ได้มีเจตนารมณ์เบื้องหลังที่มุ่งที่จะรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
อย่างเต็มที่ ดังจะเห็นได้จากการที่มาตรา 25 วรรคสองบัญญัติไว้ว่า สิทธิหรือเสรีภาพใด
ที่รัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติหรือให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ
ที่กฎหมายบัญญัติ แม้ยังไม่มีการตรากฎหมายนั้นขึ้นใช้บังคับบุคคลหรือชุมชนย่อม
สามารถใช้สิทธิหรือเสรีภาพนั้นได้ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
33 เครือข่ายอากาศสะอาดประเทศไทย, บันทึกเจตนำรมณ์ร่ำงพระรำชบัญญัติก�ำกับดูแล
กำรจัดกำรอำกำศสะอำดเพื่อสุขภำพแบบบูรณำกำรพ.ศ. …., (30 เมษายน 2564), สืบค้น
จาก https://thailandcan.org/knowledge