Page 46 - kpiebook65018
P. 46
45
เช่น การศึกษาภาคบังคับโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การบริการสาธารณสุข สาธารณูปโภค
ขั้นพื้นฐาน การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสาธารณะ การใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ของชาติ
เป็นต้น บางบทบัญญัติจะเป็นเรื่องการด�าเนินการของรัฐที่มีผลกระทบต่อประชาชน
ชุมชน และสิ่งแวดล้อม บางบทบัญญัติเป็นเรื่องการให้ประชาชนมีส่วนร่วม เช่น การป้องกัน
และขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบ เป็นต้น
นอกจากนั้นแล้ว หากสังเกตถ้อยค�าในหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ตั้งแต่มาตรา 51
ถึงมาตรา 63 ที่ใช้นั้นจะก�าหนดให้มีสภาพบังคับที่รัฐต้องปฏิบัติ ดังจะเห็นได้ว่าการใช้
ถ้อยค�าจะใช้ว่า “รัฐต้อง ...” ซึ่งมีนัยส�าคัญว่า เป็นการบังคับให้รัฐต้องปฏิบัติ ไม่เช่นนั้น
อาจเป็นเหตุฟ้องร้องบังคับให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติได้ ตามที่บัญญัติในมาตรา 51
ได้บัญญัติไว้ว่า “การใดที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของรัฐตามหมวดนี้ ถ้าการนั้น
เป็นการท�าเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยตรง ย่อมเป็นสิทธิของประชาชนและ
ชุมชนที่จะติดตามและเร่งรัดให้รัฐด�าเนินการ รวมตลอดทั้งฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐ
ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดให้ประชาชนหรือชุมชนได้รับประโยชน์นั้นตามหลักเกณฑ์และ
วิธีการที่กฎหมายบัญญัติ” ดังนั้น จึงนับว่ารัฐธรรมนูญได้ก�าหนดหน้าที่ให้รัฐต้อง
ด�าเนินการอย่างเคร่งครัด โดยถือว่าเป็นการด�าเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะนั่นเอง
โดยให้ประชาชนและชุมชนมีสิทธิจะติดตามและเร่งรัดให้รัฐด�าเนินการ รวมตลอดทั้ง
ฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดให้ประชาชนหรือชุมชนได้รับประโยชน์นั้นได้
ส่วนหมวดแนวนโยบายแห่งรัฐเป็นเรื่องทิศทางหรือแนวทางในการด�าเนินนโยบายของรัฐ
ในหมวด 6 หากรัฐไม่ด�าเนินการ ก็ไม่อาจเป็นเหตุแห่งการฟ้องร้องให้หน่วยงานของรัฐ
ต้องปฏิบัติได้ โดยจะมีการใช้ถ้อยค�าที่แตกต่างว่า “รัฐพึง ...” การที่หมวดหน้าที่ของรัฐ
ก�าหนดให้รัฐมีหน้าที่ต่อประชาชนเพื่อให้รัฐด�าเนินการในเรื่องที่ก�าหนดให้แก่ประชาชน
ทุกคนหรือทุกชุมชนเป็นการทั่วไปโดยไม่ต้องมีการร้องขอเหมือนเช่นที่ผ่านมา การก�าหนด
หมวดดังกล่าวไว้เป็นการก�าหนดกลไกเพื่อให้การท�าหน้าที่ของรัฐบรรลุเป้าหมายตามที่