Page 79 - kpiebook65017
P. 79

78   ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
          การคลังสาธารณะ


          วรรคหนึ่งในกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติก็เสนอ
                                                                     77
          เรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 144 วรรคหก ด้วยเหตุผลสองประการ  ดังนี้

                 ประการแรก การแปรญัตติเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเพิ่มเติมรายการหรือจ�านวน
          ในรายการในร่างกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย หรือการตัดทอนรายจ่ายตาม

          ข้อผูกพัน ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติตามมาตรา 144 วรรคแรก เป็นเรื่องเกี่ยวกับ

          กระบวนการนิติบัญญัติโดยแท้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
          ซึ่งไม่ได้เป็นองค์กรที่มีอ�านาจในกระบวนการอนุมัติงบประมาณไม่ควรเป็นผู้มีอ�านาจ
          เสนอเรื่องดังกล่าวต่อศาลรัฐธรรมนูญได้


                 ประการที่สอง โดยลักษณะของเรื่องการอนุมัติงบประมาณรายจ่ายมิอาจ
          ท�าให้เกิด “การกระท�าการทุจริต” ซึ่งอยู่อ�านาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกัน

          และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้ เนื่องจากการกระท�าที่เป็นการทุจริตในการใช้จ่าย

          งบประมาณนั้นจะอยู่ในขั้นตอนของการบริหารงบประมาณ ไม่ใช่ขั้นตอนของการอนุมัติ
          งบประมาณ


                 ด้วยเหตุผลดังกล่าว รัฐธรรมนูญจึงไม่ควรบัญญัติให้อ�านาจแก่คณะกรรมการ
          ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในการเสนอเรื่องดังกล่าวต่อศาลรัฐธรรมนูญ

          ประกอบกับข้อจ�ากัดของบทบัญญัติตามมาตรา 144 วรรคหกและวรรคสาม ที่มิได้
          รองรับการการใช้มาตรการต่าง ๆ เช่น การสิ้นสุดสมาชิกภาพ การเพิกถอนสิทธิ

          รับสมัครเลือกตั้ง และการชดใช้เงินคืนพร้อมดอกเบี้ย ซึ่งเป็นผลจากการกระท�าการ
          อันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติตามมาตรา 144 วรรคหนึ่ง ตามที่กล่าวมา ดังนั้น กรณีนี้

          ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอ�านาจในการใช้มาตรการดังกล่าวได้


          77    สุปรียา แก้วละเอียด และคณะ, ‘การพิจารณาวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญ ตามบทบัญญัติ
          มาตรา 144 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560’ (เชิงอรรถที่ 67).
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84