Page 81 - kpiebook65017
P. 81
80 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
การคลังสาธารณะ
อย่างไรก็ดี หากปรับใช้กฎหมายให้ศาลรัฐธรรมนูญสามารถการตรวจสอบ
การกระท�าการที่ฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 144 วรรคสอง ได้แม้ว่ากฎหมายว่าด้วย
งบประมาณรายจ่ายนั้นจะประกาศใช้บังคับไปแล้วหรือสิ้นผลบังคับใช้ไปแล้วตาม
เงื่อนเวลา ย่อมไม่สอดคล้องกับลักษณะที่แท้จริงของบทบัญญัติตามมาตรา 144
ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้เฉพาะกับกระบวนการอนุมัติงบประมาณรายจ่ายซึ่งอยู่ในชั้น
นิติบัญญัติเท่านั้น อีกทั้งยังเป็นการสร้างภาระให้แก่เจ้าหน้าที่ในระยะยาวในการท�าบันทึก
โต้แย้งเป็นหนังสือหรือแจ้งให้กับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
แห่งชาติทราบ เพื่อให้ตนเองพ้นจากต้องรับผิด และการให้มีการตรวจสอบเช่นนี้อาจ
ท�าให้เป็นอุปสรรคต่อการบริหารงบประมาณของหน่วยงานของรัฐต่าง ๆ และท�าให้
การบริหารราชการแผ่นดินขาดความต่อเนื่องได้ เนื่องจากไม่สามารถน�างบประมาณ
รายจ่ายที่เป็นประเด็นแห่งคดีมาใช้ในขณะที่อยู่ในระหว่างการถูกตรวจสอบได้
3.3.4 ปัญหาความไม่สอดคล้องกับ
หลักการแบ่งแยกอ�านาจและหลักอ�านาจ
ริเริ่มงบประมาณเป็นของฝ่ายบริหาร
มาตรการในการลงโทษและชดใช้เงินคืนพร้อมด้วยดอกเบี้ยนี้ ไม่ได้มีบัญญัติ
ไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แต่ประการใด อาจกล่าวได้ว่าหลักการตามมาตรา
144 วรรคสองและวรรคสาม ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
เป็นเรื่องเฉพาะของประเทศไทยที่สร้างหลักเกณฑ์นี้ขึ้นมาในรัฐธรรมนูญ อันส่งผลดี
และผลเสีย กล่าวคือ ผลดีเป็นมาตรการในการป้องปรามมิให้เกิดการทุจริตเข้าไป
มีส่วนไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมในการใช้เงินงบประมาณรายจ่ายซึ่งเป็นเงินแผ่นดิน