Page 82 - kpiebook65017
P. 82
81
แต่ในอีกทางหนึ่ง กลไกดังกล่าวนี้ส่งผลให้ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นองค์กรตุลาการก้าวล่วง
เข้ามาในพรมแดนของฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งไม่เพียงแต่ท�าให้กระบวนการหรือร่างกฎหมาย
ว่าด้วยงบประมาณตกไปเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อตัวบุคคลที่จะต้องถูกเพิกถอนสิทธิ
สมัครรับเลือกตั้ง สิ้นสุดสมาชิกภาพ หรือส่งผลให้คณะรัฐมนตรีพ้นจากต�าแหน่งทั้งคณะ
ด้วย ซึ่งเป็นการกระทบสิทธิทางการเมืองของบุคคล อีกทั้งการก�าหนดให้ต้องชดใช้เงิน
และดอกเบี้ยก็เป็นมาตรการที่กระทบสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลด้วย 78
ตามหลักการแบ่งแยกอ�านาจ องค์กรตุลาการในฐานะผู้ตรวจสอบการใช้อ�านาจ
ของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารจะสามารถเข้าไปควบคุมได้เฉพาะแต่ความชอบด้วย
กฎหมายของการใช้อ�านาจดังกล่าวเท่านั้น ไม่อาจตรวจสอบความเหมาะสมในการใช้
ดุลพินิจตามกรอบหน้าที่และอ�านาจตามกฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหารได้
79
เพราะอาจเป็นการก้าวล่วงอ�านาจของฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหาร ดังนั้น การที่
มาตรา 144 วรรคสี่ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ก�าหนดให้
ศาลรัฐธรรมนูญมีอ�านาจเพิกถอนสิทธิรับสมัครเลือกตั้งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
หรือสมาชิกวุฒิสภาตลอดจนเรียกให้บุคคลดังกล่าวชดใช้เงินคืนพร้อมดอกเบี้ย ส่งผล
ท�าให้ในการพิจารณาและการท�าค�าวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นการหลีกเลี่ยง
ไม่ได้ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะต้องเข้าไปพิจารณาถึงการท�าหน้าที่ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ
ถึงในระดับรายละเอียดการพิจารณาร่างกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายประจ�าปี
ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือกรรมาธิการ เพื่อตรวจสอบว่า
มีการเสนอ การแปรญัตติ หรือการกระท�าด้วยประการใด ๆ ที่มีผลให้สมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือกรรมาธิการมีส่วนไม่ว่าโดยทางตรงหรือ
78 เพิ่งอ้าง.
79 วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, ‘ศาลปกครองกับหลักการแบ่งแยกอ�านาจ’ (2537) 4 วารสารนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 569, 575.