Page 87 - kpiebook65017
P. 87
86 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
การคลังสาธารณะ
4.1 ข้อเสนอในการบัญญัติรับรองหลักความยินยอมทางภาษี
เอาไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
จากปัญหาข้อจ�ากัดทางกฎหมายที่ประเทศไทยไม่มีการรับรองหลักความยินยอม
ทางภาษีไว้ในรัฐธรรมนูญดังที่กล่าวมาในหัวข้อที่ 3.1 นั้น ผู้เขียนจึงเสนอให้บัญญัติ
หลักความยินยอมทางภาษีไว้ในรัฐรรมนูญโดยชัดเจนตามแนวทางของรัฐธรรมนูญ
ของประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยบัญญัติให้การก�าหนดฐานภาษี
อัตราภาษี และวิธีการค�านวณภาษีจะกระท�าได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ โดยปรับใช้
แนวทางตามมาตรา 34 รัฐธรรมนูญของประเทศฝรั่งเศส ปี 1958 ด้วยเหตุผลที่ว่า
ฐานภาษี อัตราภาษี และวิธีการค�านวณเรื่องที่ส�าคัญที่สุดในโครงสร้างภาษี อันจะเป็น
เรื่องที่ก�าหนดภาระภาษีของประชาชน ดังนั้นจึงควรได้รับความยินยอมจากรัฐสภา
ในฐานะของผู้แทนของประชาชนในรูปแบบของการอนุมัติร่างพระราชบัญญัติทางภาษี
เสียก่อน
80
อย่างไรก็ดี เพื่อเป็นการสร้างสมดุลระหว่างการคุ้มครองสิทธิของประชาชน
และการบริหารราชการแผ่นดินอย่างมีประสิทธิภาพ จึงไม่ควรก�าหนดบทบัญญัติ
ในเรื่องดังกล่าวที่เคร่งครัดมากจนเกินไปจนฝ่ายบริหารไม่สามารถจัดเก็บภาษีมาบริหาร
ประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสภานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม
ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ผู้เขียนเห็นว่า พระราชบัญญัติที่มีสาระเป็นการก�าหนด
ฐานภาษี อัตราภาษี และวิธีการค�านวณภาษีนั้น ควรมีบทบัญญัติที่ก�าหนดให้
ฝ่ายบริหารสามารถด�าเนินการบางอย่างได้เองแต่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติ
เช่น ในเรื่องของการก�าหนดอัตราภาษีในพระราชบัญญัตินั้นอาจจะก�าหนดเพดานส�าหรับ
80 ธีรพัฒน์ พิเชฐวงศ์, ‘มาตรการทางกฎหมายเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการอนุมัติงบประมาณ
แผ่นดินของรัฐสภา’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2557) 39.