Page 46 - kpiebook65011
P. 46

ก่อนจะถึงการเลือกตั้ง
           ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565


           กรุงเทพมหานครที่เหมือนหรือแตกต่างจากการเมืองระดับชาติได้อย่าง
           ชัดเจน การทำการศึกษาเชิงคุณภาพหรือที่มีคุณภาพในการไล่เรียง
           พัฒนาการในภาพรวมของการเมืองกรุงเทพมหานครไม่มีเป็นชิ้นเป็นอัน
           งานวิจัยส่วนใหญ่พอใจที่จะอธิบายปรากฏการณ์การเลือกตั้งหลังเหตุการณ์

           เป็นการเฉพาะไปเป็นกรณี ๆ ไป โดยไม่เข้าใจหรือไม่เคยพยายามทำความ
           เข้าใจความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่เป็นจริงจากโครงการ
           พัฒนาที่เป็นอยู่ที่เชื่อมโยงกับการเลือกตั้ง การศึกษาพื้นที่ชุมชนแออัด

           ไม่ถูกขับเน้นในเงื่อนไขของความสัมพันธ์ทางอำนาจและภาพรวมของ
           พัฒนาการของเศรษฐกิจการเมืองของกรุงเทพมหานคร ชัยชนะและ
           การพ่ายแพ้ของผู้สมัครแต่ละรายแต่ละครั้งให้ความสำคัญกับการเก็บ
           ตัวอย่างสำรวจผ่านแบบสอบถามผ่านความเคร่งครัดในระเบียบวิธีวิจัยทาง
           สถิติมากกว่าความรู้ในภาพรวมที่จะได้รับที่สามารถสะสมต่อเนื่องกันใน

           ระยะยาวนับตั้งแต่การเลือกตั้งท้องถิ่นของกรุงเทพมหานครตั้งแต่ปี 2528
           การศึกษาเรื่องการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและการเลือกตั้ง
           ท้องถิ่นในส่วนการเลือกตั้งสภากรุงเทพมหานครและสภาเขตจึงมองไม่เห็น

           ภาพของคนต่างจังหวัด ภาพของคนชั้นกลางในเมืองที่อาจเป็นคนต่างจังหวัด
           แล้วเติบโตขึ้นมาเป็นคนในเมือง ไม่เข้าใจพัฒนาการของความแตกต่าง
           ทางการเมืองของกรุงเทพมหานครจากอดีตสู่ปัจจุบัน เน้นพิจารณาแค่เรื่อง
           ของอายุ เพศ การศึกษา รายได้ของผู้ลงคะแนนมากกว่าตัวชุมชนที่
           แตกต่างกัน และการสร้างพันธมิตรในการเลือกตั้งในแต่ละครั้งเท่านั้น

           (พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ และธนิสรา เรืองเดช, 2563)















       38    สถาบันพระปกเกล้า
                                                                                                                  สถาบันพระปกเกล้า
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51