Page 43 - kpiebook65011
P. 43
ก่อนจะถึงการเลือกตั้ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565
ก็จะมาจากการเลือกตั้งในเขตที่เล็กกว่าเขตเลือกตั้งของผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานคร และด้วยทั้งเงื่อนไขของการเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รูปแบบพิเศษ ด้วยความสำคัญของมหานครกรุงเทพ และด้วยระบบ
การเลือกตั้งในอดีต จึงทำให้ตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีนัย
ทางการเมืองเป็นพิเศษ 5
สำหรับความสำคัญของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหลัง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เมื่อมีระบบบัญชีรายชื่อ
ในการเลือกตั้งระดับชาติแล้ว จะพบว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
จะได้รับการเลือกตั้งมาจากพรรคที่อยู่ตรงข้ามกับรัฐบาลในระดับชาติ
ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความนิยมของรัฐบาลในกรุงเทพมหานครเอง
โดยเฉพาะในยุคความขัดแย้งระหว่างสีเสื้อ 6
3.1.2 มายาคติของชัยชนะของผู้สมัครอิสระในตำแหน่งผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานคร
นับจากการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตั้งแต่ปี 2518
5 ดังเช่นกรณีความขัดแย้งระหว่างพลตรีจำลอง ศรีเมือง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กับพลตรีประมาณ อดิเรกสาร ซึ่งเป็นรัฐมตรีว่าการ
กระทรวงมหาดไทยที่มาจากเขตเลือกตั้งเดียวในจังหวัดสระบุรี แม้จะเป็นเลขาธิการพรรค
ชาติไทยในสมัยนั้น นอกจากนี้แล้ว ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่
3 มีนาคม 2556 คะแนนเสียงของผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
คือ 1,256,349 คะแนน ส่วนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 24 มีนาคม
2562 คะแนนเสียงของผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของกรุงเทพมหานคร
ทุกคนรวมกัน (30 คน) คือ 923,288 คะแนน
6 ในช่วงของการครองอำนาจของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร (พ.ศ. 2544-2549)
นายสมัคร สุนทรเวช (พ.ศ. 2551) นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (พ.ศ. 2551) และ น.ส.ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร (พ.ศ. 2554-2557) นั้น กรุงเทพมหานครอยู่ภายใต้การบริหารงานของ
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจากพรรคประชาธิปัตย์มาโดยตลอด ตั้งแต่นายอภิรักษ์
โกษะโยธิน (พ.ศ. 2547-2551) จนถึง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร (พ.ศ. 2552-2559)
สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า
35