Page 47 - kpiebook65011
P. 47
ก่อนจะถึงการเลือกตั้ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565
3.2 สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
3.2.1 สมาชิกสภากรุงเทพมหานครในฐานะนายกเทศมนตรีจำแลง
และหัวคะแนนของพรรคการเมือง
ระบบตรวจสอบการบริหารจัดการของกรุงเทพมหานครมีสองระดับ
หนึ่งคือ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ซึ่งก็เหมือนสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎร (ส.ส.) (คือมาจากการเลือกตั้ง) ของแต่ละเขต เขตละไม่ต่ำ
8
กว่าหนึ่งคน เว้นแต่มีจำนวนประชากรมากกว่าเกณฑ์ก็ขยายเพิ่มอีกคน
สภากรุงเทพมหานครมีหน้าที่เหมือนสภาผู้แทนระดับชาติ และสภาท้องถิ่น
อื่นๆ คือติดตามการทำงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอนุมัติ
งบประมาณ ส่วนในระดับเขตก็มีสภาเขตและสมาชิกสภาเขต (ส.ข.)
ที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ไม่มีบทบาทมาก หรือ เช่นเดียวกับสภา
กรุงเทพมหานคร โดยเป็นเพียงคณะให้คำปรึกษาผู้อำนวยการเขต
ไม่มีอำนาจตรวจสอบและอนุมัติงบประมาณ แต่เขตหนึ่งมีหลายคน
ประการสำคัญต่อมาในเรื่องการเมืองและบริหารจัดการ
กรุงเทพมหานคร คือเรื่องของการแบ่งพื้นที่บริหารเป็น 50 เขต ผ่าน
สำนักงานเขต แต่ระบบเขตนั้นตัวผู้อำนวยการเขตไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
การโอนย้ายไม่ได้ขึ้นตรงกับความสามารถในการบริหารงานที่พร้อมรับผิด
ต่อประชาชน (accountability) แต่เป็นการพิจารณาจากส่วนกลางของ
กรุงเทพมหานคร โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนามคำสั่งแต่งตั้ง
โยกย้าย ซึ่งแม้ว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะมาจากการเลือกตั้งแต่
ก็ไม่มีหลักประกันใด ๆ ว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะมีความเข้าใจ
8 เกณฑ์ปัจจุบันตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
(ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 คือ เขตใดมีประชากรเกิน 150,000 คนให้มีสมาชิกสภา
กรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้นทุก 150,000 คนต่อสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร 1 คน เศษของ
150,000 คนถ้าเกิน 75,000 คนให้มีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้นอีก 1 คน
สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า
39