Page 50 - kpiebook65011
P. 50
ก่อนจะถึงการเลือกตั้ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565
3.2.2 ความเปลี่ยนแปลงในเรื่องการเมืองในมิติของงบประมาณ
ที่เกี่ยวข้องกับสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
ในอดีตการบริหารงานกรุงเทพมหานครนั้นไม่มีการแบ่งบทบาท
หน้าที่ระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายสภาท้องถิ่นในด้านการจัดทำงบประมาณ
ออกจากกันอย่างชัดเจน สภากรุงเทพมหานครสามารถริเริ่มกำหนด
รายจ่ายของกรุงเทพมหานคร คือแปรญัตติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
และการแปรญัตติในการใช้จ่ายเงินสะสมของกรุงเทพมหานครได้ โดยไม่ได้
ผ่านการรับรองของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่อย่างใด ซึ่งเป็น
การกระทำที่ขัดแย้งกับหลักการแบ่งการทำงาน นอกจากนี้ สภาพปัญหา
ที่เกิดจากการใช้งบแปรญัตติของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครดังกล่าว
ยังมีอีกว่า เป็นงบประมาณขาดองค์กรที่รับผิดชอบโดยตรง การใช้จ่าย
งบประมาณส่วนนี้จะขึ้นอยู่กับความต้องการของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
แต่ละคนเป็นหลัก การจัดสรรงบประมาณมีลักษณะกระจัดกระจายเป็น
เบี้ยหัวแตก มองเห็นประโยชน์ไม่ชัดเจน ซ้ำซ้อนกับงบประมาณตามปกติ
แต่ก็มีส่วนให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานครนั้นมีบทบาทอย่างกว้างขวาง
ในพื้นที่ เมื่อเทียบกับตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่
อย่างไรก็ดี การที่สภากรุงเทพมหานครสามารถริเริ่มกำหนด
รายจ่ายของกรุงเทพมหานครได้นั้นได้ยกเลิกไปหลังจากมีรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
3.2.3 สภากรุงเทพมหานครภายหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2557
สภากรุงเทพมหานครที่มาทำหน้าที่ต่อจากสภาชุดเดิมที่หมดวาระลง
ภายหลังรัฐประหาร พ.ศ. 2557 นั้นเป็นสภาที่มาจากการแต่งตั้ง
โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ออกประกาศคณะรักษาความแห่งชาติ
ฉบับที่ 86/2557 ให้งดการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา
กรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ
42 สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า