Page 49 - kpiebook65011
P. 49
ก่อนจะถึงการเลือกตั้ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565
ความคาดหวังของชุมชนต่อสมาชิกสภากรุงเทพมหานครนั้นสำคัญ
และในด้านกลับกัน ชุมชนก็เป็นฐานคะแนนสำคัญในการเลือกตั้งของ
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ขณะที่สมาชิกสภาเขตนั้นชุมชนก็คาดหวัง
มากเช่นกัน ทั้งนี้ทั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขต
ก็จะทำหน้าที่ประสานกับเขตและมีงบพัฒนาด้วย (งบพัฒนาของสมาชิก
สภากรุงเทพมหานครถูกตัดหลังรัฐประหารปี 2549) แต่ที่กล่าวมานั้น
จะพบว่าความคาดหวังในการแก้ปัญหา หรือนำเสนอข้อร้องเรียนจากชุมชน
ไปยังสำนักงานเขต สำนักส่วนกลางของกรุงเทพมหานครหรือรัฐบาล
ก็มักจะกระทำผ่านสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และถ้าสมาชิกสภา
กรุงเทพมหานครมีความสัมพันธ์อันดีกับผู้ว่าฯ ก็อาจจะมีความเป็นไปได้ว่า
งบประมาณในพื้นที่ต่าง ๆ จะอยู่รวมไปในงบประมาณของสำนักและเขต
อยู่ดี
ความเคลื่อนไหวในเรื่องสมาชิกสภากรุงเทพมหานครยังอาจจะมีเพิ่ม
มากขึ้นจากเดิมในการเลือกตั้งรอบใหม่ด้วย เพราะในการเลือกตั้งทั่วไป
เมื่อปี 2562 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่ามีอดีตสมาชิก
สภากรุงเทพมหานครบางคนในสภากรุงเทพมหานครชุดสุดท้ายที่มาจาก
การเลือกตั้งก่อนรัฐประหารปี 2557 ได้ย้ายขึ้นไปสมัครเป็นสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎร และได้รับเลือกตั้งด้วย
9
9 มีจำนวนทั้งสิ้นถึงห้าคน ได้แก่ 1) นางสาวกานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ (เขต 1
พระนคร ป้อมปราบฯ สัมพันธวงศ์ ดุสิตบางส่วน สังกัดพรรคพลังประชารัฐ อดีต ส.ก.
เขตพระนคร พรรคประชาธิปัตย์) 2) นางกรณิศ งามสุคนธ์รัตนา (เขต 4 คลองเตย
วัฒนา สังกัดพรรคพลังประชารัฐ อดีต ส.ก. เขตคลองเตย พรรคประชาธิปัตย์)
3) นายประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ (เขต 5 ดินแดง ห้วยขวาง สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีต
ส.ก. เขตห้วยขวาง พรรคเพื่อไทย) 4) นายกษิดิ์เดช ชุติมันต์ (เขต 8 ลาดพร้าว วังทองหลาง
บางส่วน สังกัดพรรคพลังประชารัฐ อดีต ส.ก. เขตลาดพร้าว พรรคประชาธิปัตย์)
5) นายประสิทธิ์ มะหะหมัด (เขต 19 สะพานสูง ประเวศบางส่วน สังกัดพรรคพลังประชารัฐ
อดีต ส.ก. เขตสะพานสูง พรรคเพื่อไทย)
สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า
41