Page 44 - kpiebook65011
P. 44
ก่อนจะถึงการเลือกตั้ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565
จนถึงปัจจุบัน มีเพียงพลตรีจำลอง ศรีเมือง ในการเลือกตั้งปี 2528 และ
ดร.พิจิตต รัตตกุล ในการเลือกตั้งปี 2539 ที่ได้รับเลือกตั้งโดยไม่สังกัด
พรรคการเมือง
อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาในรายละเอียดของการเมืองของ
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะในช่วงก่อนการ
ประกาศตัวลงสมัคร จะพบว่าแม้จะมีการลงสมัครในตำแหน่งผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานครในนามอิสระและได้รับชัยชนะ ผู้สมัครอิสระที่ได้รับ
ชัยชนะนั้น จะต้องทำงานผ่านการจัดตั้งกลุ่มการเมืองใหม่ และจะต้องได้
รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองบางพรรคที่ตัดสินใจไม่ส่งผู้สมัคร
7
ในครั้งนั้นด้วย ดังนั้นการตั้งคำถามของงานวิจัยเรื่องการเลือกตั้ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ผ่านมาที่มักสนใจถามคำถามว่า ความเป็น
7 กรณีของพลตรีจำลอง ศรีเมือง ในการเลือกตั้งปี 2528 ดูจะเป็นกรณีเดียว
ที่ไม่สังกัดพรรคอย่างแท้จริง ในการเลือกตั้งครั้งนั้นพลตรีจำลองลงสมัครในนามกลุ่ม
รวมพลัง ขณะที่พรรคการเมืองที่ไม่ได้ส่งผู้สมัครลงแข่งในครั้งนั้นก็ให้การสนับสนุน
พลตรีจำลองทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น พรรคกิจสังคม พรรคชาติไทย และ
พรรคก้าวหน้า สมบัติ จันทรวงศ์ (2530) ชี้ว่าอาจเป็นไปได้ว่าเพราะพรรคการเมือง
ดังกล่าวไม่ต้องการให้พรรคประชาธิปัตย์มีชัยชนะในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานคร ซึ่งอาจส่งผลต่อการเลือกตั้งใหญ่ แต่ในเวลาต่อมาพลตรีจำลองก็ตั้ง
พรรคพลังธรรม และก้าวไปเล่นการเมืองระดับชาติ แต่สุดท้ายเมื่อกลับเข้ามาลงสมัคร
รับเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่งในนามพรรคพลังธรรมเมื่อปี 2539 ก็พ่ายแพ้ให้แก่ ดร.พิจิตต
รัตตกุล ซึ่งลงสมัครในนามอิสระ (กลุ่มมดงาน) แต่ก็เป็นที่ทราบกันว่า ดร.พิจิตต
รัตตกุล เคยทั้งเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ และไม่ประสบความสำเร็จในการลงสมัคร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในปี 2535 ในนามพรรคประชาธิปัตย์ อีกทั้งในการเลือกตั้ง
ปี 2539 ที่ ดร.พิจิตตชนะนั้นพรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่ได้ส่งผู้สมัคร หรือในกรณีของ
นางปวีณา หงสกุล ที่ลงสมัครครั้งแรกปี 2543 ในนามพรรคชาติพัฒนา โดยได้คะแนน
เสียงลำดับที่หก และครั้งที่สองปี 2547 ลงในนามอิสระ โดยได้คะแนนเสียงลำดับที่สอง
แต่ในครั้งนั้นก็มีข่าวลือว่าได้รับการสนับสนุนจากพรรคไทยรักไทย เพราะพรรคไทยรักไทย
ไม่ส่งผู้สมัคร
36 สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า