Page 45 - kpiebook65011
P. 45
ก่อนจะถึงการเลือกตั้ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565
ผู้สมัครอิสระหรือสังกัดพรรคมีผลต่อการลงคะแนนเสียงของผู้มีสิทธิ
เลือกตั้งมากกว่ากัน จึงอาจจะไม่ใช่การมองประเด็นแท้จริงที่อยู่เบื้องหลัง
การสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในแต่ละครั้ง
3.1.3 บทบาทของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครท่ามกลางความขัดแย้ง
ตึงเครียดของการพัฒนาในพื้นที่ : ข้อสังเกตต่องานวิจัยที่ผ่านมา
จากการทบทวนงานศึกษาที่ผ่านมาในเรื่องการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานคร จำนวน 46 ชิ้น (พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ และธนิสรา เรืองเดช,
2563) พบว่างานส่วนใหญ่เป็นงานในลักษณะสำรวจทัศนคติด้วยตัวแปร
ทางประชากรศาสตร์มากมาย อาทิ เพศ การศึกษา รายได้ ว่ามีผลต่อ
การเลือกผู้สมัครหรือไม่ ศึกษาอิทธิพลของสื่อต่อการรณรงค์ ศึกษา
รูปแบบการรณรงค์หาเสียง ศึกษาความคาดหวังทางการเมือง แต่ไม่มี
งานวิจัยว่าด้วยเรื่องพฤติกรรมการเลือกตั้งท้องถิ่นในกรุงเทพมหานคร
ที่ทำความเข้าใจเรื่องของปัญหาความขัดแย้ง หรือผลประโยชน์ต่าง ๆ
ที่เกิดจากโครงการของกรุงเทพมหานครในฐานะหน่วยการปกครองท้องถิ่น
ที่มีผลต่อการเลือกตั้งในแต่ละครั้ง หรือกล่าวอีกอย่างก็คือไม่มีการศึกษา
เงื่อนไขในเชิงพลวัตทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ที่มีต่อ
พฤติกรรมการเลือกตั้ง การแบ่งเรื่องของการตัดสินใจเลือกหรือลงสมัคร
เป็นการแบ่งในลักษณะการศึกษาว่า ประชาชนเลือกพรรค หรือตัวบุคคล
ทั้งที่จริงแล้ว ประชาชนก็มีข้อมูลอยู่ไม่น้อยว่าตัวผู้สมัครบางคนในบาง
ยุคสมัยนั้นแม้จะลงในนามอิสระ/กลุ่มอิสระ แต่เกี่ยวโยงกับพรรคบางพรรค
งานศึกษาการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ผ่านมาไม่ได้
จัดวางความสำคัญเรื่องความขัดแย้งไว้เป็นแกนกลางของเรื่องการศึกษา
การเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร การทำการศึกษาวิจัยส่วนใหญ่
เน้นเก็บข้อมูลตัวอย่างมากกว่าการสะสมองค์ความรู้ในระยะยาวจาก
ยุคสมัยที่แตกต่างกัน และไม่สามารถหาลักษณะพิเศษที่เกิดขึ้นในพื้นที่
สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า
37