Page 48 - kpiebook65011
P. 48
ก่อนจะถึงการเลือกตั้ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565
สภาพปัญหาในรายละเอียดของแต่ละเขต ผู้อำนวยการเขตยังมาจาก
ข้าราชการของกรุงเทพมหานคร ที่ไม่ได้มีจำนวนมากพอที่จะทำให้การ
คัดสรรตัวผู้อำนวยการเขตได้คนที่เหมาะสมกับงานเสมอไป อีกทั้งใน
หลายกรณีเราก็จะเห็นว่า ผู้อำนวยการเขต/รักษาการได้มีทรรศนะและ
พฤติกรรมที่ไม่ค่อยเป็นคุณกับการบริหารกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะต่อ
ความเข้าอกเข้าใจกับชุมชนที่ประสบปัญหาการพัฒนาในพื้นที่ ทั้งเรื่องที่
จอดรถ เมรุเผาศพ ฯลฯ ส่วนสภาเขตที่มาจากการเลือกตั้งก็ไม่มีอำนาจ
ในการตรวจสอบผู้อำนวยการเขตในแบบที่สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
มีอำนาจตรวจสอบผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ทำได้แค่สอดส่องติดตาม
ดูแลการดำเนินงานของเขต และให้คำแนะนำ ผู้อำนวยการเขต หาก
ผู้อำนวยการเขตไม่ทำตามก็ให้แจ้งไปทางผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รวมทั้งให้ข้อคิดเห็นและสังเกตเป็นหลัก ส่วนการจัดสรรงบประมาณเพื่อ
พัฒนาเขตดูจะไม่เป็นที่รับรู้ของประชาชนมากนัก รวมถึงการไม่เห็น
บทบาทเชิงรุกในเรื่องต่าง ๆ ของสภาเขต) (พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์, 2563,
21 กรกฎาคม)
ท่ามกลางสภาวะของการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ไม่ได้
เข้าถึงปัญหาในระดับเขต และตัวผู้อำนวยการเขตก็ไม่ได้เข้าใจพื้นที่เพราะ
ย้ายไปมา และผู้ว่ามีจำนวนข้าราชการในการเลือก (pool) น้อย ขณะที่
สมาชิกสภาเขตก็ไม่มีอำนาจตรวจสอบที่เข้มข้น อำนาจจริงในพื้นที่เขต
ในกรุงเทพมหานครจึงอยู่ที่สมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่เป็นเสมือน
“นายกเทศมนตรีจำแลง” (disguised mayor) ในพื้นที่ โดยสมาชิก
สภากรุงเทพมหานครจะลงพื้นที่ตลอดเวลาและมีความรู้สึก (และถูกคาดหวัง)
ว่าจะต้องดูแลพื้นที่ และความรู้สึกนี้อาจจะมีมากกว่าตัวผู้อำนวยการเขต
ด้วยซ้ำ เพราะผู้อำนวยการเขตย้ายไปมาโดยไม่เกี่ยวกับเสียงและ
ความต้องการของประชาชน และประชาชนไม่มีโอกาสประเมินการทำงาน
ของผู้อำนวยการเขต)
40 สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า