Page 42 - kpiebook65011
P. 42
ก่อนจะถึงการเลือกตั้ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565
แต่ในมุมมองของรัฐส่วนกลางนั้น แม้ว่าจะมาจากเลือกตั้งและดูจะมี
ความชอบธรรมทางการเมืองสูง เพราะเป็นผู้บริหารที่มาจากการเลือกตั้ง
ที่มีพื้นที่ให้เล่นมากที่สุดไม่ต้องแบ่งอำนาจให้ใคร แต่สุดท้ายกระทรวง
มหาดไทยก็ยังรวบอำนาจหรือคอยกำกับดูแลอย่างเข้มงวดเคร่งครัด
ดังจะเห็นจากกรณีการงัดข้อกันบ่อยครั้งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งโดยทั่วไปในสายตาของกระทรวง
มหาดไทยไม่ได้มองว่า กรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ใหญ่โตอะไรมากไปกว่านายกเทศมนตรีที่ดูแลพื้นที่เมืองขนาดใหญ่
เท่านั้นเอง 4
นอกจากนี้หากพิจารณาประวัติศาสตร์ของการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานครควบคู่ไปกับการเมืองระดับชาติจะพบว่า การเลือกตั้ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยเฉพาะภายใต้พระราชบัญญัติระเบียบ
บริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 เป็นการเลือกตั้งที่เกิดขึ้น
ในสมัยของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งการเมืองไทย
ยังมีลักษณะประชาธิปไตยครึ่งใบ กล่าวคือ นายกรัฐมนตรีไม่ได้มาจาก
การเลือกตั้ง และระบบการเลือกตั้งก่อนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ก็ยังไม่ได้ใช้ระบบการเลือกตั้งที่มีส่วน
ของการนับคะแนนแบบบัญชีรายชื่อซึ่งใช้หน่วยประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง
ดังนั้น เขตการเลือกตั้งของการเลือกตั้งในระดับประเทศจึงมีขนาดที่เล็ก
กว่าเขตการเลือกตั้งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ใช้มหานครกรุงเทพ
เป็นเขตเลือกตั้งเดียว ดังนั้นในยุคก่อนรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยหากมาจากการเลือกตั้ง
4 เช่นข้อเสนอของหม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล รองปลัดกระทรวงมหาดไทย
ในขณะนั้น ซึ่งเคยเสนอว่าควรเปลี่ยนชื่อตำแหน่งจาก “ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(Governor of Bangkok Metropolitan)” เป็น “นายกเทศมนตรีกรุงเทพมหานคร (Lord
Mayor of Bangkok Metropolitan)” (โพสต์ทูเดย์, 2555, 27 พฤศจิกายน)
34 สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า