Page 38 - kpiebook65011
P. 38
ก่อนจะถึงการเลือกตั้ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565
ในอีกด้านหนึ่ง รายจ่ายของกรุงเทพมหานครก็เพิ่มขึ้นทั้งที่ประชากร
ที่ลงทะเบียนอยู่อาศัยในกรุงเทพมหานครลดลง ซึ่งเมื่อพิจารณารวมกับ
ประเด็นเรื่องรายได้จะสามารถอธิบายได้ว่าปัญหาใหญ่ที่กรุงเทพมหานคร
กำลังเผชิญอยู่ก็คือการดูแลพื้นที่ที่มีประชากรแฝงมากกว่าประชากรจริง
และการลงทุนจำนวนมากมีเป้าหมายที่เหมือนกับจะรองรับประชากร
จำนวนมากทั้งที่จำนวนประชากรที่ลงทะเบียนนั้นน้อยลง และจะเริ่มเห็นว่า
โครงสร้างพื้นฐานของกรุงเทพมหานครโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของ
การคมนาคมขนส่งอาทิ รถไฟฟ้า/ใต้ดินที่เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยนั้นขยายตัว
ไปถึงเขตชานเมือง และอาจจะข้ามเขตออกจากพื้นที่ในการดูแลของ
กรุงเทพมหานครไปด้วย (แม้ว่าส่วนนี้จะไม่ใช่งบประมาณตรงของ
กรุงเทพมหานคร) และจะพบว่างบประมาณเขตที่อยู่รอบนอกที่มีประชากร
เพิ่มขึ้นก็จะมีมากขึ้นไปด้วย
นอกจากนี้ หากพิจารณาจากปริมาณขยะมูลฝอยที่เพิ่มขึ้นมา
โดยตลอด (พิจารณาหัวข้อสิ่งแวดล้อม : พื้นที่สีเขียว ขยะ และฝุ่น) และ
งบประมาณในการรักษาความสะอาดที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ประชากร
ในกรุงเทพมหานครลดลง ก็ยิ่งชัดเจนว่ากรุงเทพมหานครยังเป็นพื้นที่
มีประชากรแฝงทั้งในส่วนของประชากรรอบกรุงเทพมหานครและ
นักท่องเที่ยวมากขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงก่อนโควิด-19
การที่กรุงเทพมหานครมีมูลค่าและความสำคัญทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
โดยเฉพาะราคาที่ดินที่สูงขึ้น มีโครงการและงบประมาณที่รองรับ
การพัฒนาเมืองที่เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงขึ้นนั้นมีอีกมิติที่พึงพิจารณา
คือเรื่องของแรงตึงเครียดกดดันของคนจนในกรุงเทพมหานครที่อาจจะ
แสวงหาความมั่นคงได้น้อยลง ทั้งในแง่ที่อยู่อาศัยและความมั่นคงในชีวิต
ในภาคเศรษฐกิจที่เป็นทางการ (ตัวเลขมูลค่าที่ดินจากศูนย์ข้อมูลวิจัยและ
ประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย ของโสภณ พรโชคชัย (2563,
30 สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า