Page 36 - kpiebook65011
P. 36
ก่อนจะถึงการเลือกตั้ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565
กรุงเทพมหานครนั้นมีเพิ่มมากขึ้น เห็นได้จากรายได้ของกรุงเทพมหานคร
ที่มาจากรายได้จัดเก็บเองนั้นเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะภาษีอันเกี่ยวเนื่องกับที่ดิน
1
และในช่วงที่มีการรัฐประหารและว่างเว้นจากการเลือกตั้งท้องถิ่นของ
กรุงเทพมหานครจะพบว่ารายได้ที่รัฐจัดสรรและรายได้จากเงินอุดหนุน
ก็ยังเพิ่มขึ้นค่อนข้างสม่ำเสมอ พูดอย่างง่ายก็คือแม้ว่าจะมีคนในทะเบียน
น้อยลงแต่มูลค่าและความสำคัญทางเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานครก็ไม่ได้
ลดน้อยถอยลง ส่วนหนึ่งอาจเป็นไปได้ว่าคนลดน้อยลงในแง่ของประชากร
ที่ลงทะเบียน แต่ประชากรแฝงกลับเพิ่มขึ้น กรุงเทพมหานครเป็นจังหวัด
ที่มีประชากรแฝงกลางคืนหรือประชากรแฝงลักษณะอาศัยอยู่ประจำ
มากที่สุด โดยในปี 2562 มีประชากรแฝงกลางคืน 2.27 ล้านคน และ
ปี 2563 เพิ่มเป็น 2.35 ล้านคน ส่วนประชากรแฝงกลางวันหรือ
ประชากรแฝงลักษณะไปเช้าเย็นกลับที่กระจายอยู่ในกรุงเทพมหานคร
ในปี 2562 มี 1.3 แสนคน และในปี 2563 มี 5.5 แสนคน (สำนักงาน
สถิติแห่งชาติ, 2563; สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2564) การเพิ่มขึ้นของ
ประชากรแฝงอาจมีส่วนสร้างความมั่งคั่งให้กับพื้นที่กรุงเทพมหานคร
แต่ก็อาจไม่ใช่ฐานภาษีรายได้ ที่จะส่งกลับมาอุดหนุนในพื้นที่
1 ในช่วงปี 2557-2562 การเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินในแต่ละปีนั้นสามารถ
เก็บได้เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าเสมอ กล่าวคือ ปี 2558 เก็บได้เพิ่มขึ้น 3.98% ปี 2559
เก็บได้เพิ่มขึ้น 6.77% ปี 2560 เก็บได้เพิ่มขึ้น 12% ปี 2561 เก็บได้เพิ่มขึ้น 1.10%
และปี 2562 เก็บได้เพิ่มขึ้น 8.36% ส่วนการเก็บภาษีบำรุงท้องที่นั้น ในปี 2558 เก็บได้
เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 0.35% ปี 2559 เก็บได้เพิ่มขึ้น 7.20% ปี 2560 เก็บได้ลดลง
1.23% ปี 2561 เก็บได้ลดลง 1.60% และปี 2562 เก็บได้เพิ่มขึ้น 4.13% (กรมส่งเสริม
การปกครองท้องถิ่น, 2562, น. 10)
28 สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า