Page 49 - kpiebook63028
P. 49
48 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดชลบุรี
ณัฐชัย ชินอรรถพร (2558) ศึกษาเรื่อง การมีส่วนร่วมทางการเมืองในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งระดับชาติ
และระดับท้องถิ่นไทย มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการไปใช้
สิทธิเลือกตั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น และ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการไปใช้
สิทธิเลือกตั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น โดยการศึกษาในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative
Research) โดยใช้การศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เป็นเครื่องมือสำาคัญในการดำาเนินการ
ศึกษาวิจัย ผลการศึกษาพบว่า 1) การมีส่วนร่วมทางการเมืองในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งระดับชาติมีสัดส่วนสูงขึ้น
เรื่อยๆ และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 เป็นต้นมา ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้งเกินกว่าร้อยละ 50 ทั้งสิ้น ในขณะที่
การไปใช้สิทธิเลือกตั้งระดับท้องถิ่น โดยส่วนใหญ่มีสัดส่วนสูงขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้จะมีร้อยละการไปใช้สิทธิลดลงบ้าง
แต่การไปใช้สิทธิส่วนใหญ่ประชาชนไปใช้สิทธิเกินกึ่งหนึ่งของจำานวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และ 2) การมีส่วนร่วมทาง
การเมืองในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่นโดยส่วนใหญ่มีความแตกต่างกัน โดยประชาชนไปใช้
สิทธิเลือกตั้งระดับชาติสูงกว่าระดับท้องถิ่น
พันธ์ุทิพา อัครธีรนัย (2559) ได้ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายก: ศึกษาในช่วงเวลา พ.ศ. 2559 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผล
ต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดนครนายก 2) เพื่อศึกษาถึง
ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของชาวจังหวัดนครนายกกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดนครนายก 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของชาว
จังหวัดนครนายก และ 4) เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของชาวจังหวัดนครนายก
กับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของชาวจังหวัดนครนายก ใช้แบบสอบถาม
เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนชาวจังหวัดนครนายกจำานวน 400 ตัวอย่าง ในการวิเคราะห์
ข้อมูลเชิงพรรณนา(Descriptive Statistics) บรรยายลักษณะเกี่ยวกับตัวแปรต่างๆ ค่าแจกแจงความถี่
(Frequency) ค่าร้อยละ(percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.)
สถิติเชิงอนุมาน ด้วยค่าสถิติ t-test และ F-test และค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 36-50 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีรายได้
ต่อเดือนระหว่าง 10,001-15,000 บาท และประกอบอาชีพเกษตรกร พฤติกรรมการเปิดรับสื่อของประชาชน
ชาวจังหวัดนครนายก พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ในสื่อโทรทัศน์ ลำาดับถัดมาสื่อวิทยุ สื่อหนังสือพิมพ์ และ
อินเทอร์เน็ต ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายก ในภาพรวม
อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากในด้านคุณลักษณะของผู้สมัคร รองลงมา
ด้านสื่อบุคคล ด้านพรรคการเมือง ด้านนโยบาย และด้านการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ผลพิสูจน์สมมติฐาน
พบว่า อายุ และอาชีพของประชาชนชาวจังหวัดนครนายกมีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายก และ พฤติกรรมการเปิดรับสื่อของชาวจังหวัด
นครนายกมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดนครนายก ในภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง