Page 47 - kpiebook63028
P. 47
46 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดชลบุรี
โปร่งใส ยึดหลักนิติรัฐนิติธรรม มีจุดยืนชัดเจน อีกทั้งมีผู้นำารุ่นเก่าของพรรคที่ได้รับความนิยมและความศรัทธา
อาทิเช่น นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช นายสัมพันธ์ ทองสมัคร
อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช นายบัญญัติ บรรทัดฐาน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นต้นท่านเหล่านี้ เป็นแบบอย่างผู้นำาทางการเมืองที่ดี รวมถึงคนใต้มีอัตลักษณ์เฉพาะตน
เป็นอีกปัจจัยสำาคัญ (2) อัตลักษณ์เฉพาะตนของคนใต้ จำาแนกได้ 3 ข้อดังนี้ (1) อัตลักษณ์ทางสังคม ได้แก่
อุปนิสัยใจคอ วิธีคิดและวิธีทำา เช่น คนใต้รักตายาย คนใต้รักพวกมีวัฒนธรรมการผูกญาติผูกมิตร เป็นต้น
(2) อัตลักษณ์ทางเศรษฐกิจ คนใต้นิยมปลูกยางพารา และทำาประมงคล้าย ๆ กันตามสภาพพื้นที่ (3) อัตลักษณ์
ทางการเมือง คนใต้มีแนวคิด แนวปฏิบัติ และมีความคิดเห็นทางการเมืองที่ค่อนข้างถึงลูกถึงคน อีกทั้ง
ชอบการเมืองมาก ดูได้จากการที่มีร้านนำ้าชาเป็นสภากาแฟไว้ถกการเมือง เป็นต้น การที่คนใต้
มีความเข้าใจการเมืองลึกซึ้งเพราะได้รับการซึมซับมาตั้งแต่เด็กจากครอบครัวและจากการแสดงหนังตะลุง
มโนราห์ ถือว่าสิ่งเหล่านี้เป็นวัฒนธรรมทางการเมืองของคนใต้ รวมทั้งพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่คนใต้รัก
และหวงแหนเสมือนเป็นสมบัติจนถูกมองว่า เป็นพรรคของคนใต้ เปรียบเหมือนมรดกที่พ่อแม่ก่อนตายจะสั่งเสีย
ลูกหลานไว้ว่า “ต้องเลือกพรรคประชาธิปัตย์เท่านั้น”
3. ผลของท้องถิ่นนิยมหรือภูมิภาคนิยมที่มีต่อระบบการเมืองไทย ในการสร้างฐานคะแนนเสียงของ
พรรคประชาธิปัตย์ในภาคใต้ ทำาให้ระบบการเมืองมีเสถียรภาพอีกทั้งคนใต้มีความสนใจการเมืองสูง ติดตาม
ความเป็นจริงของเหตุการณ์ทางการเมืองตลอดเวลา เป็นภาคที่มีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงน้อย คะแนนเสียงที่ได้รับ
ส่วนใหญ่เกิดจากการทำางานลงพื้นที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสาขาพรรคแล้วพยายามรักษา
ฐานคะแนนเสียงไว้จนกลายเป็นท้องถิ่นนิยมหรือภูมิภาคนิยม
จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่กำาหนด พบว่า การใช้นโยบายการสร้างฐานคะแนนเสียงด้วย
หลักการขายตรงนั้นอาจไม่พอ สิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ให้ความสำาคัญเพิ่มขึ้น คือ (1) การสื่อสารยุคใหม่ที่เรียกว่า
โซเชียลมีเดียเพื่อก้าวทันยุคดิจิทัล โดยการนำามาปรับใช้กับการโฆษณาประชาสัมพันธ์ของพรรค เพื่อให้สามารถ
รับฟังและเข้าถึงประชาชนได้รวดเร็ว (2) นโยบาย แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ นโยบายระดับชาติ เพื่อแก้ไขปัญหาและ
พัฒนาประเทศในภาพรวมทั่วทุกภูมิภาค และนโยบายระดับพื้นที่ เพื่อที่จะสามารถแก้ไขปัญหาของประชาชน
ได้ทุกพื้นที่ และตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
ธีระพงค์ พลเกษตร (2556) ได้ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ในกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษา การเลือกตั้งซ่อมเขตดอนเมือง วันที่ 16 มิถุนายน 2556 การวิจัยครั้งนี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการออกเสียงเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (2) ศึกษาการสื่อสาร
ทางการเมืองที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกเสียงเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (3) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล
และการสื่อสารทางการเมือง ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออกเสียงเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ
(4) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่ออิทธิพลของการสื่อสารทางการเมืองที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกเสียงเลือกตั้ง
ซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำาแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง