Page 52 - kpiebook63028
P. 52

51








                          นริศร ปิวะศิริ (2558) ได้ศึกษาเรื่อง บทบาทของกำานันผู้ใหญ่บ้านที่มีผลต่อการได้รับเลือกตั้งของผู้

                  สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร : กรณีศึกษาเทศบาลตำาบลไทรม้า อำาเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี การ
                  ศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบทบาทของกำานันผู้ใหญ่บ้านที่มีผลต่อการได้รับเลือกตั้งของ

                  ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในเขตเทศบาลตำาบลไทรม้า อำาเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี (2) เสนอแนะ
                  บทบาทของกำานันผู้ใหญ่บ้าน ในการหาเสียงเลือกตั้งและวิธีการเลือกตั้งที่เหมาะสมกับระบอบประชาธิปไตยของไทย

                  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจงในเขตเทศบาลตำาบลไทรม้า อำาเภอเมือง
                  จังหวัดนนทบุรี ได้แก่ กำานัน 1 คน ผู้ใหญ่บ้าน 4 คน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 1 คน เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์

                  และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณา ผลการศึกษาพบว่า (1) บทบาทของกำานันผู้ใหญ่บ้านที่มีผลต่อการได้รับเลือกตั้ง
                  ของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้แก่ การนำาผู้สมัครไปแนะนำาตัว พบปะประชาชนในตำาบล หมู่บ้าน

                  จัดหาบุคลากร สนับสนุนการหาเสียงเลือกตั้ง มีการแจ้งให้มาเป็นประธานร่วมกิจกรรมในพื้นที่ รายงานความเคลื่อนไหว
                  ของผู้สมัครฯ อื่นและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์และผลงานของผู้สมัครฯ ให้ประชาชนทราบอย่างต่อเนื่อง

                  โดยบทบาทดังกล่าว มีผลต่อการได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (2) ข้อเสนอแนะได้แก่ การนำา
                  ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลงพื้นที่ กำานันผู้ใหญ่บ้านควรปฏิบัติกับผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

                  ทุกคนอย่างเสมอภาค และควรทำาความเข้าใจกับประชาชนถึงประโยชน์ที่เลือกผู้มีความรู้ความสามารถเข้าไป
                  เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กำานันผู้ใหญ่บ้านควรรู้กฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งและสนับสนุนคนดีมีความรู้

                  โดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนหาโอกาสทำาให้ประชาชนทราบประวัติของผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอย่าง
                  ละเอียด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งควรนำาบทบาทของกำานันผู้ใหญ่บ้านไปปรับใช้ในการเลือกตั้ง

                  เพื่อป้องกันการทุจริตและส่งเสริมความรู้ระบอบประชาธิปไตยอย่างถ่องแท้โดยไม่ซื้อสิทธิขายเสียง


                          ประทุมมารถ สุจริต (2558) ได้ศึกษาเรื่อง ระบบอุปถัมภ์ในการเลือกตั้งท้องถิ่น : กรณีศึกษาเทศบาล
                  ตำาบลบ่อทอง อำาเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยของระบบอุปถัมภ์

                  ที่มีอิทธิพลต่อการเลือกตั้งของเทศบาลตำาบลบ่อทอง อำาเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี (2) ผลกระทบของระบบอุปถัมภ์
                  ต่อการเลือกตั้งท้องถิ่นของเทศบาลตำาบลบ่อทอง อำาเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี (3) แนวทางในการป้องกันและ

                  แก้ไขปัญหาของระบบอุปถัมภ์ในการเลือกตั้งท้องถิ่น การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์
                  แบบเป็นทางการ เลือกกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลตำาบลบ่อทอง เป็นบุคคลที่มี

                  ประสบการณ์ในเรื่องการเมืองท้องถิ่นที่มีความน่าเชื่อถือ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1 กลุ่มผู้นำาชุมชน เช่น
                  กำานัน ผู้ใหญ่บ้าน ข้าราชการครู ตัวแทนรัฐวิสาหกิจ และประธานชุมชนย่อย จำานวน 7 คน ส่วนกลุ่มที่ 2 คือ

                  กลุ่มนักการเมืองท้องถิ่น เช่น รองนายกเทศมนตรี อดีตรองนายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล และสมาชิก
                  องค์การบริหารส่วนจังหวัด จำานวน 7 คน รวมทั้งสิ้น จำานวน 14 คน และทำาการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา


                          ผลการวิจัย พบว่า (1) ปัจจัยสำาคัญของระบบอุปถัมภ์ที่มีอิทธิพลต่อการเลือกตั้งของเทศบาลตำาบล

                  บ่อทอง คือ ระบบเครือญาติ พรรคพวกเพื่อนฝูง และระบบหัวคะแนน ซึ่งบุคคลทั้ง 3 กลุ่ม มีบทบาทสำาคัญ
                  ในการเลือกตั้ง ผู้ที่มีเครือญาติและพรรคพวกเพื่อนฝูงจำานวนมาก จะมีโอกาสได้รับการเลือกตั้งสูง เพราะจะเป็น
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57