Page 53 - kpiebook63028
P. 53
52 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดชลบุรี
ฐานเสียงหลักในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และยังช่วยกันทำาหน้าที่ในการหาเสียงอีกด้วย (2) ผลกระทบของ
ระบบอุปถัมภ์ต่อการเลือกตั้งท้องถิ่นของเทศบาลตำาบลบ่อทอง ในเรื่องนี้จะทำาให้ท้องถิ่นอ่อนแอ การปกครอง
ระบอบประชาธิปไตยไม่พัฒนา การบริหารงานขาดประสิทธิภาพ ทำาให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ
(3) แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของระบบอุปถัมภ์ในการเลือกตั้งท้องถิ่น ควรแก้ที่สาเหตุ คือ สร้าง
จิตสำานึกประชาธิปไตย และการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำาคัญของการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น
ให้แก่ประชาชน ในการใช้สิทธิทางการเมือง หน้าที่พลเมือง อันจะนำาไปสู่ศรัทธาและความเลื่อมใสในระบอบ
ประชาธิปไตย
ชนิดาภา มงคลเลิศลพ (2559) ได้ศึกษาเรื่อง ระบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เหมาะสมกับ
ประเทศไทย: ศึกษากรณีระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อความคิด
ว่าด้วยหลักประชาธิปไตยและระบบการเลือกตั้ง ศึกษาพัฒนาการระบบการเลือกตั้งของประเทศไทยและ
ต่างประเทศ ศึกษาปัญหาระบบการเลือกตั้งในประเทศไทย และเพื่อเสนอแนะระบบการเลือกตั้งที่เหมาะสม
สอดคล้องกับสภาพสังคมไทย ผลการศึกษาพบว่าระบบการเลือกตั้งของประเทศไทย ทั้งระบบการเลือกตั้งแบบ
เสียงข้างมากธรรมดาและระบบการเลือกตั้งผสมแบบคู่ขนาน ผลการเลือกตั้งไม่สามารถสะท้อนเจตนารมณ์
ของประชาชนเจ้าของอำานาจได้อย่างแท้จริง ทั้งยังเป็นระบบที่มีแนวโน้มทำาให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่ได้เปรียบ
พรรคการเมืองขนาดกลางและพรรคการเมืองขนาดเล็กเสียเปรียบ ไม่เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้น
ใหม่สามารถพัฒนาตนเองในทางการเมืองได้ กล่าวคือ พรรคการเมืองที่เกิดขึ้นใหม่ไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะ
ต่อสู้กับพรรคการเมืองขนาดใหญ่ ทำาให้ไม่สามารถมีที่นั่งในสภาหรือเติบโตเป็นกระบอกเสียงให้กับประชาชน
ได้เลย ทำาให้ระบบรัฐสภาไม่สามารถเป็นกลไกสะท้อนสภาพปัญหาของประชาชนในประเทศได้อย่างแท้จริง
ขัดต่อวัตถุประสงค์ของการเลือกตั้งที่ต้องการให้ประชาชนเป็นผู้กำาหนดอนาคตของประเทศโดยการเลือก
ผู้แทนของตนผ่านการเลือกตั้งทั้งนี้ แตกต่างจากระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสมซึ่งเป็นระบบที่ใช้ในประเทศ
เยอรมนีและประเทศนิวซีแลนด์ มีหลักการคล้ายกับระบบการเลือกตั้งผสมแบบคู่ขนาน แตกต่างกันในส่วนของ
วิธีการคิดคะแนน โดยระบบสัดส่วนผสมจะมีการคิดคะแนนจัดสรรที่นั่งซึ่งทั้งสองระบบมีความเชื่อมโยงต่อกัน
มีการชดเชยที่นั่งจากระบบบัญชีรายชื่อ อันเป็นผลให้ผลการเลือกตั้งสามารถสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนได้
อย่างแท้จริง คะแนนเสียงของผู้ออกเสียงได้สัดส่วนกับจำานวนที่นั่งที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับตามความเป็นจริง
ก่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ทุกพรรคการเมือง ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก หรือ
แม้แต่เป็นพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นใหม่ ดังนั้น จึงส่งผลต่อระบบพรรคการเมืองให้มีความหลากหลาย เป็นสถาบัน
ที่มีอุดมการณ์และรากฐานจากประชาชน ระบบรัฐสภาสามารถทำางานได้อย่างมีประสิทธิผลเป็นกระจกสะท้อน
ปัญหาและความต้องการของประชาชนเจ้าของอำานาจอธิปไตยอย่างแท้จริงจึงเห็นได้ว่า ระบบการเลือกตั้ง
มีความสำาคัญอย่างยิ่งต่อโครงสร้างระบบการเมือง การออกแบบระบบการเลือกตั้งจึงต้องพิจารณาให้สอดคล้อง
กับสภาพปัญหาและความต้องการของแต่ละประเทศ โดยคำานึงถึงบริบทสังคมและพื้นฐานทางวัฒนธรรมของ
สังคมนั้น ๆ เพื่อให้ระบบการเลือกตั้งเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนองค์ประกอบต่าง ๆ ในโครงสร้างทางการเมือง
ทั้งพรรคการเมือง ผู้แทนประชาชน และเสถียรภาพของรัฐบาล ให้ทำางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีกลไก