Page 51 - kpiebook63028
P. 51

50       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดชลบุรี








             การวิเคราะห์ภายใต้กรอบแนวคิดการตลาดการเมือง (Political Marketing) ของ Bruce I.Newman โดยใช้

             วิธีการเก็บข้อมูลการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผลการวิจัยพบว่า พรรคเพื่อไทยมีการประยุกต์ใช้
             กลยุทธ์การตลาดการเมืองในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งเดียวกันกับกลยุทธ์ของพรรคไทยรักไทย และนำาเสนอ

             ผลิตภัณฑ์ทางการเมืองของพรรคภายใต้ชื่อของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร


                      ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ใช้กลยุทธ์การตลาดการเมืองโดยมุ่งเป้าหมายไปที่กลุ่มประชาชนที่ต่อต้าน
             พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทั้งนี้ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ความรู้สึกต่อตราสินค้าพรรคเพื่อไทยและต่อต้านทักษิณ ชินวัตร

             และบริบทความขัดแย้งทางการเมืองที่เป็นผลสืบเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 จนถึงปี พ.ศ. 2554 ได้มีอิทธิพล
             ต่อการกลยุทธ์การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ และส่งผลให้การใช้กลยุทธ์

             การตลาดการเมืองในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทยไม่ประสบความสำาเร็จในพื้นที่กรุงเทพมหานคร


                      บุรฉัตร พานธงรักษ์ (2555) ได้ศึกษาเรื่อง การตลาดการเมืองของพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์
             ในการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.2554 วิทยานิพนธ์เรื่อง “การตลาดการเมืองของพรรคเพื่อไทยและ
             พรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554” เป็นการศึกษาเพื่อตอบคำาถามงานวิจัย

             2 ประการคือ 1. ปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์

             2. พรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์นำาแนวคิดการตลาดการเมืองมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการรณรงค์
             หาเสียงเลือกตั้งอย่างไร


                      งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เพื่อศึกษาและทำาความเข้าใจกลยุทธ์ที่
             พรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์นำามาใช้ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ผ่านการนำาแนวคิดและทฤษฎีเรื่อง

             การตลาดการเมือง (Political Marketing) ของ Bruce I. Newman มาเป็นกรอบในการศึกษาหลัก ร่วมกับ

             แนวคิดเรื่องการสื่อสารทางการเมือง (Political Communication) โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์
             แบบเจาะลึก (In-dept Interview) ประกอบกับการวิจัยเอกสาร


                      ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์
             ในการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 คือ เหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่ปรากฏขึ้นอย่าง

             ชัดเจนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 จนถึงปี พ.ศ. 2554 การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
             การสื่อสาร อย่างไรก็ตามเนื่องจากพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์มีแนวคิดและแนวทางการปฏิบัติงาน

             ที่แตกต่างกัน ส่งผลให้กลยุทธ์การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ภายใต้
             กรอบการตลาดการเมืองมีรูปแบบการนำาเสนอและวิธีการดำาเนินการที่แตกต่างกัน ซึ่งพรรคเพื่อไทยเลือกที่จะนำา

             ความสำาเร็จทางนโยบายในรัฐบาลพรรคไทยรักไทยมาเป็นตัวสนับสนุนและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผลิตภัณฑ์
             ของพรรค ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์เลือกที่จะนำาความเชื่อมั่นในตัวบุคคล คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

             มาเป็นตัวสนับสนุนและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผลิตภัณฑ์ของพรรค
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56