Page 46 - kpiebook63028
P. 46

45








                  ว่า วัยรุ่นกลุ่มให้ข้อมูลหลัก มีปัญหาขาดความรู้ความเข้าใจต่อการเลือกตั้งในระบบใหม่ และแรงจูงใจต่อการไป

                  ใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นส่วนใหญ่ในด้านการนับคะแนนเสียงเลือกตั้ง และในอีกหลาย ๆ ด้านในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ
                  การเลือกตั้งและข้อเสนอแนะจากผู้ให้ข้อมูลหลักอยากให้หน่วยงานของรัฐ จัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจ

                  ในสถานศึกษาในการเลือกตั้งระบบใหม่ เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการไปใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งต่อไปอีกด้วย


                          วารุณี ลีเลิศพันธ์ (2560) ได้ศึกษาเรื่อง การสร้างฐานคะแนนเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ในภาคใต้
                  ทำาการศึกษาเฉพาะการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 19 เดือนกันยายน พ.ศ. 2535 ถึง ครั้งที่ 26

                  เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) วิธีการสร้างฐานคะแนนเสียงของพรรคประชาธิปัตย์
                  ในภาคใต้ (2) สาเหตุที่พรรคประชาธิปัตย์สามารถสร้างความนิยมในภาคใต้ และ (3) ผลของท้องถิ่นนิยมหรือ

                  ภูมิภาคนิยมที่มีต่อระบบการเมืองไทยในการสร้างฐานคะแนนเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ในภาคใต้ ทำาการศึกษา
                  ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร จากการทำางานภาคสนาม และจาก

                  การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ตลอดจนใช้วิธีการสังเกตความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่กำาหนด จำาแนกได้ 3 ส่วน
                  ดังนี้ (1) กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ในภาคใต้

                  (2) ประธานสาขาพรรคประชาธิปัตย์หรือแกนนำาในภาคใต้ (3) ผู้นำาชุมชนหรือประชาชน ในภาคใต้ ผลการวิจัย
                  พบว่า


                          1. วิธีการสร้างฐานคะแนนเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ในภาคใต้ที่สำาคัญ คือ หลักการขายตรง
                  โดยมีตัวแปรสำาคัญ 3 ส่วน ดังนี้ (1) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ในภาคใต้ (2) สาขา

                  พรรคและแกนนำาพรรคประชาธิปัตย์ในภาคใต้ และ (3) ผู้นำาชุมชนและประชาชนในภาคใต้ ซึ่งตัวแปรทั้ง

                  3 ส่วนทำางานประสานกันเป็นอย่างดี มีความสัมพันธ์กันในทุกมิติ โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นตัวแปร
                  สำาคัญในการลงพื้นที่พบปะพี่น้องประชาชนโดยตรง เสมือนการนำาเสนอขายสินค้าตรงสู่ประชาชนในพื้นที่ ด้วย
                  การเปิดการขาย นำาเสนอตัวผู้นำาพรรค นโยบายพรรค และอุดมการณ์ของพรรค เพราะพรรคที่ไม่มีทุนแบบ

                  พรรคประชาธิปัตย์ต้องอาศัยตัวบุคคลเป็นจุดขาย ให้สาขาพรรคและแกนนำาเป็นตัวแทนของพรรคในการ

                  ประชาสัมพันธ์ ประสานงาน ติดต่อกับผู้นำาชุมชนและประชาชนในพื้นที่ เรียกได้ว่า เป็นการติดตามดูแลหลังการขาย
                  อีกทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สาขาพรรคและแกนนำาในพื้นที่ร่วมมือกันสร้างเครือข่ายหรือแนวร่วม โดยการให้
                  ผู้นำาชุมชนและประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วยการเข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคและสามารถร่วมกันจัดตั้งเครือข่าย

                  เช่น สมาคมแม่บ้านประชาธิปัตย์ องค์กรเกษตรกร เป็นต้น การสร้างเครือข่ายลักษณะนี้ทำาให้พรรคได้รับ

                  ความนิยม ทำาให้ฐานเสียงเป็นปึกแผ่นมั่นคงแข็งแรงมากขึ้น เพราะการมีคนอยู่ทุกกลุ่ม ทุกวัฒนธรรม ถือเป็น
                  การสร้างฐานและขยายฐานเสียงที่ดี ตัวแปรทั้งสามทำางานร่วมกันอย่างเป็นระบบ ทำาให้สามารถรักษาฐาน
                  คะแนนเสียงในภาคใต้ได้ต่อเนื่องและยาวนาน


                          2. สาเหตุที่ทำาให้พรรคประชาธิปัตย์สามารถสร้างความนิยมในภาคใต้ มีปัจจัยที่สำาคัญ 2 ปัจจัย คือ

                  (1) ภาวะผู้นำาของนายชวน หลีกภัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรังเป็นหลักสำาคัญ และเป็นธงนำา

                  ในการสร้างฐานเสียง ท่านเป็นแบบอย่างผู้นำาที่ดี มีภาพความซื่อสัตย์สุจริต การพูดจานุ่มนวล การบริหารงาน
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51