Page 43 - kpiebook63028
P. 43

42       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดชลบุรี






                      กฤช เอื้อวงศ์ (2547) ได้นำาเสนอรูปแบบการรณรงค์ในการหาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองไทย

             ภายหลังจากที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 และภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ. 2544 สรุปได้
             4 ประการ คือ 1. พรรคการเมืองทุกพรรคจะหันมาใช้นโยบายประชานิยม ซึ่งนโยบายประชานิยม คือ การใช้เงิน

             ในการหาเสียงกับผู้มีสิทธิออกเสียง 2. ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงจะให้ความสำาคัญกับนโยบายพรรคการเมือง
             มากขึ้น 3. สื่อมวลชนรวมถึงเครื่องมือในการสื่อสารจะเข้ามามีบทบาทสำาคัญในการเข้าถึงผู้มีสิทธิออกเสียง

             4. การใช้จ่ายเงินที่นอกเหนือจากรายจ่ายตามที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกำาหนดไว้ ยังคงมีความสำาคัญและจำาเป็นอยู่
             แต่ไม่ใช่ปัจจัยชี้ขาดในการได้รับเลือกตั้ง






             งำนวิจัยที่เกี่ยวข้อง




                      สุนันท์ อัครทวีทอง (2545) ได้ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิก
             สภาผู้แทนราษฎรของประชาชนเขต 1 จังหวัดชลบุรี โดยศึกษาประชาชนในเขตเทศบาลตำาบลแสนสุข จังหวัดชลบุรี

             พบว่าในการเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2544 ประชาชนเห็นว่ามีความยุติธรรมดี สะดวก รวดเร็ว แต่มีความยุ่งยาก
             ซับซ้อนมากกว่าการเลือกตั้งแบบเดิม ประชาชนมีความเข้าใจในระบบการเลือกตั้งที่มีทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

             แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ  ในระบบบัญชีรายชื่อ ความคิดเห็นต่อพรรค
             มีผลต่อการตัดสินใจเลือก และในระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง พบว่า ความคิดเห็นต่อหัวคะแนนมีผลต่อการตัดสินใจ

             ในการเลือกตั้ง  ประชาชนเลือกผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยให้ความสำาคัญกับคุณสมบัติเฉพาะตัวของ
             ผู้สมัครมากที่สุด รองมา คือ การพิจารณาพรรคการเมืองที่สังกัด  ด้านคุณสมบัติเฉพาะตัวของผู้สมัครนั้นประชาชน

             ให้ความสำาคัญกับเรื่องการนำาความเจริญมาสู่ท้องถิ่นและเป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เป็นผู้มีชื่อเสียง


                      วิชาญ รอดไพบูลย์ (2549) ได้ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
             นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี โดยศึกษาประชาชนที่อาศัยอยู่เขตอำาเภอเมือง จังหวัดชลบุรี โดยพบว่า

             คุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีความสำาคัญมากที่สุด โดยมีปัจจัยของคุณสมบัติ
             ของหัวคะแนนที่มีผลต่อการตัดสินใจ โดยเฉพาะหัวคะแนนที่ที่นำาความเจริญมาสู่ท้องถิ่น เป็นที่ยอมรับของ

             ประชาชน ประชาชนพอใจมากที่สุดกับรูปแบบการหาเสียงที่ผู้สมัครออกหาเสียงพบปะกับประชาชนตามบ้าน


                      ศักดา นพสิทธิ์ (2542) ได้ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
             ของประชาชนจังหวัดชลบุรี โดยศึกษาจากพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของประชาชนใน 4 อำาเภอ

             ของจังหวัดชลบุรี คือ อำาเภอเมือง อำาเภอพานทอง อำาเภอพนัสนิคม และอำาเภอบ่อทอง ทั้งนี้เป็นการศึกษา
             การเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปีพุทธศักราช 2534 ที่เป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเรียงเบอร์ โดยปัจจัย

             ที่มีความสำาคัญที่สุดในการพิจารณา คือ พรรคการเมืองที่สังกัด รองลงมา คือ คุณสมบัติประจำาตัวของผู้สมัคร
             ด้านปัจจัยหัวคะแนนมีความสำาคัญน้อยที่สุด
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48