Page 40 - kpiebook63028
P. 40

39








                          สมบัติ จันทรวงศ์ (2530, น.14-30) ได้ศึกษาพฤติกรรมการเลือกตั้งและกระบวนการบริหารจัดการ

                  การเลือกตั้งไว้ดังนี้  ขั้นตอนการวางแผนและรณรงค์หาเสียงการเลือกตั้ง ขั้นตอนในวันเลือกตั้ง และขั้นตอน
                  ภายหลังการเลือกตั้ง โดยมีรายละเอียด ดังนี้


                          ขั้นตอนการวางแผนและรณรงค์หาเสียงการเลือกตั้ง เป็นขั้นตอนที่สำาคัญ นักการเมืองที่มีประสบการณ์

                  จะต้องวางแผนการดำาเนินการทางการเมืองในระยะยาว เตรียมการวางแผนการเลือกตั้งเพื่อให้มีกิจกรรมทาง
                  การเมืองอย่างต่อเนื่องทั้งในเวลาปกติหรือเวลาที่มีการประกาศพระราชกฤษฎีการยุบสภาเพื่อการเลือกตั้ง

                  ซึ่งการหาเสียงดังกล่าว นักการเมืองต้องมีข้อมูลในเรื่องของเขตการเลือกตั้ง (Constituency) และระบบการเลือกตั้ง
                  (Electoral System)ในกรณีที่ระบบการเลือกตั้งเป็นแบบแบ่งเขตเรียงเบอร์ก็ต้องพิจารณาการจัดทีมของ

                  ผู้สมัคร ในกรณีที่เป็นการเลือกตั้งแบบเขตเดียวเบอร์เดียวก็ต้องพิจารณาถึงศักยภาพผู้สมัครที่เป็นคู่แข่ง
                  เพื่อนำามาประเมินกลยุทธ์ในการหาเสียงต่อไป ในขั้นการรณรงค์หาเสียงมีรายละเอียด ดังนี้


                          การจัดองค์กรเพื่อการเลือกตั้ง ทั้งนี้เพื่อให้การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งเป็นไปอย่างมีระบบ
                  มีการแบ่งงานจัดระบบการทำางาน มีอาจหน้าที่ที่ชัดเจนในองค์กร ผู้สมัครจึงต้องตั้งศูนย์การเลือกตั้ง

                  (Campaign Center) ขึ้น มีการจ้างเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ด้านกฎหมาย ด้านการจัดการอุปกรณ์สำานักงาน ด้านการเงิน

                  โดยมีผู้จัดการศูนย์การเลือกตั้งเป็นผู้รับผิดชอบการรณรงค์การเลือกตั้ง ศูนย์การเลือกตั้งนี้มีหลายระดับตั้งแต่
                  ระดับประเทศที่มีสำานักงานใหญ่ที่ทำาการพรรคการเมือง ศูนย์การเลือกตั้งระดับศูนย์การเลือกตั้งระดับภาค
                  และศูนย์การเลือกตั้งในเขตการเลือกตั้ง


                          การจัดระบบหัวคะแนน ความสำาเร็จของผู้สมัครขึ้นกับประสิทธิภาพของระบบหัวคะแนนในการหา

                  คะแนนให้กับผู้สมัคร “หัวคะแนน” คือบุคคลที่สามารถหาคะแนนเสียงให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยใช้วิธีการ

                  ที่เปิดเผยและวิธีการที่ไม่เปิดเผย” หัวคะแนนเป็นกลไกสำาคัญในการหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง กระตุ้นให้
                  ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้งให้กับผู้สมัครที่ตนสนับสนุน  ในเขตเลือกตั้งที่มีขนาดใหญ่ ภูมิประเทศเป็นอุปสรรค
                  ในการเดินทาง และมีลักษณะประชากรกระจายตัวไปอย่างกระจัดกระจาย การหาเสียงทำาได้ยากลำาบาก

                  ผู้สมัครจึงต้องอาศัยหัวคะแนนในการประชาสัมพันธ์ตัวผู้สมัคร กระตุ้นเตือนประชาชนผู้มีสิทธิให้มาลงคะแนน

                  สนับสนุนตน กล่าวได้ว่าหัวคะแนนเป็นตัวกลางระหว่างผู้สมัครกับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง คุณสมบัติที่ดี
                  ของหัวคะแนน คือ เป็นผู้ที่เป็นที่รู้จักของประชาชนในท้องถิ่นนั้น อาจจะเป็นผู้ที่มีเครือญาติจำานวนมาก หรือ
                  อาจเป็นที่นับถือของประชาชน หรืออาจเป็นผู้นำาชุมชน หรืออาจเป็นผู้มีอิทธิพลในทางเศรษฐกิจนอกระบบ

                  เช่น เจ้ามือหวย เจ้าของบ่อน ผู้ค้าของหนีภาษี เป็นต้น หัวคะแนนมีหน้าที่หลักสำาคัญ ทั้งตอนก่อนวันเลือกตั้ง

                  ในวันเลือกตั้ง และภายหลังวันเลือกตั้ง

                          ขั้นตอนในวันเลือกตั้ง หัวคะแนนจะทำาการประชาสัมพันธ์ตัวผู้สมัครให้ประชาชนทราบ ชีวิตครอบครัว

                  การทำางาน การศึกษา ประสบการณ์ และนโยบายผู้สมัคร เพื่อให้ประชาชนเกิดความศรัทธาในตัวผู้สมัคร ในลำาดับ
                  ต่อมาหัวคะแนนจะทำาการหาข้อมูลพื้นฐานของเขตเลือกตั้ง เช่น ความนิยมของประชาชนในตัวผู้สมัครเป็นแบบใด
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45