Page 39 - kpiebook63028
P. 39
38 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดชลบุรี
พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต (2537, น.98-139) ได้ชี้ว่า แนวทางการทุจริตเลือกตั้งในสังคมไทย
มี 3 แนวทาง คือ กรรมวิธี กลไก และกระบวนการทุจริตหาเสียง กรรมวิธี กลไก และกระบวนการทุจริต
ซื้อ-ขายเสียง กรรมวิธี กลไก และกระบวนการทุจริตลงคะแนนเสียง โดยทั้ง 3 แนวทางมีรายละเอียด ดังนี้
1. การทุจริตหาเสียง เป็นการที่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือทีมงาน ดำาเนินกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือ
หลายอย่างในระยะเวลาที่มีการเลือกตั้งเพื่อจูงใจให้ประชาชนลงคะแนนเสียงให้ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้เป็นกิจกรรม
ที่กฎหมายการเลือกตั้งห้ามไว้ กระบวนการทุจริต ได้แก่ พฤติกรรมการหว่านพืช เช่น การให้ทุนการศึกษาแก่
เด็กนักเรียน การทำาบุญกับวัด การจัดทำาโครงการพัฒนา โครงการอบรม พฤติกรรมการจัดงานเลี้ยงเลือกตั้ง
พฤติกรรมการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้นำาศาสนา ผู้นำาทางความคิดของประชาชน พฤติกรรมแจกเงินและ
สิ่งของกับครอบครัวและรายบุคคล ในโอกาสต่าง ๆ
2. การทุจริตซื้อ-ขายเสียง สามารถแบ่งได้สองประเภทหลัก คือ ซื้อเสียงเพื่อหวังคะแนน และซื้อเสียง
เพื่อกีดกันหรือทำาลายฐานเสียงคู่แข่งทางการเมือง การซื้อเสียงมีรูปแบบ ดังนี้ กรรมวิธีการตกเขียว เป็นการซื้อเสียง
คล้ายกับการหว่านพืชแต่ต่างตรงที่การตกเขียวมีการดำาเนินการที่กึ่งผูกมัดประชาชนผู้ลงคะแนนด้วยผลประโยชน์
ที่ผู้สมัครสัญญาว่าจะให้ การเล่นพนันและหวยผู้สมัคร พื้นที่ที่การพนันการเลือกตั้งเกิดขึ้นมาก คือ พื้นที่ภาคใต้
ภาคกลาง ภาคตะวันออก ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือวิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมมากนัก ขบวนการลากพาและการยิง
กระสุน การซื้อเสียงแบบนี้มีกิจกรรม และกลุ่มบุคคลที่เข้ามาเกี่ยวข้องมาก มีขั้นตอนย่อยที่เริ่มจาก ขั้นการสำารวจ
รายชื่อผู้ที่เป็นเป้าหมายในการลากพา ขั้นการเตรียมกระสุนหรือเงินที่จะซื้อเสียง และสุดท้ายขั้นการยิงกระสุน
กรรมวิธีบัตรผีต่าง ๆ บัตรผีนั้นมีสองประเภท คือ บัตรผีที่เกิดจากการซื้อขายบัตรประชาชนจริง กับบัตรผีที่เกิด
จากความบกพร่องของงานทะเบียนราษฎร์ บัตรผีทั้งสองประเภทจะถูกนำามาลงคะแนนวันลงคะแนนเลือกตั้ง
ในหน่วยเลือกตั้งที่ผู้สมัครได้ตระเตรียมการร่วมกับเจ้าหน้าที่ประจำาหน่วยเลือกตั้ง และสุดท้าย คือ การซื้อเสียงโดย
วิธีอื่น ผู้สมัครบางรายอาจซื้อตัวผู้สมัครรายอื่นให้ขอถอนตัวในช่วงโค้งสุดท้ายของการแข่งขันเพื่อโอนคะแนนเสียง
ของตนให้กับผู้สมัครรายอื่นแลกกับผลประโยชน์ด้านการเงิน ผู้สมัครบางรายอาจว่าจ้างผู้สมัครบางรายปราศรัย
หาเสียงใส่ร้ายป้ายสีผู้สมัครที่เป็นคู่แข่งของตน บางครั้งอาจมีการซื้อหัวคะแนนและฐานคะแนนเสียงยกหมู่บ้าน
ทั้งนี้หัวคะแนนที่ไม่ฝักใฝ่พรรคการเมืองใดหรือผู้สมัครรายใดมักจะมีโอกาสเจรจาต่อรองผลประโยชน์ได้มาก
3. การทุจริตลงคะแนนเสียง เป็นการทุจริตโดยอาศัยกลไกของรัฐ การทุจริตแบบนี้เป็นการทุจริตที่ต้อง
อาศัยกลไกอำานาจรัฐทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น จังหวัดที่เกิดรูปแบบการทุจริตแบบนี้มักกระจุกตัว
อยู่ในภาคกลางและภาคตะวันออก เช่น จังหวัดชลบุรี ปราจีนบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ โดยมีรูปแบบ
ความสัมพันธ์ในเชิงระบบอุปถัมภ์ระหว่างผู้มีอิทธิพล เจ้าพ่อ ผู้ประกอบธุรกิจผิดกฎหมาย กับเจ้าพนักงานของ
รัฐระดับสูงซึ่งอาจเป็นทหาร ตำารวจ เจ้าพนักงานปกครอง