Page 36 - kpiebook63028
P. 36
35
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมกำรเลือกตั้ง
การเลือกตั้งเป็นกติกาสูงสุดที่ทุกคนยอมรับในสังคมประชาธิปไตย (The Only Game in Town)
ดังนั้น การศึกษาทางพฤติกรรมการเลือกตั้ง (Electoral Behavior) จึงได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศที่มี
ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม เป็นที่มาของรัฐบาลที่มีความชอบธรรม
(Legitimate Government) การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม เป็นกลไกยืนยันถึงความรับผิดชอบที่รัฐบาล
ต้องมีต่อประชาชน (to Ensure that the Government Remains Accountable to the People) สิ่งเหล่านี้
ปรากฏในสหรัฐอเมริกาและยุโรปตะวันตก ซึ่งมีการเลือกตั้งทั่วไปในระดับประเทศตามกรอบระยะเวลาอย่าง
ต่อเนื่อง ตามที่มีการระบุไว้ในรัฐธรรมนูญของประเทศเหล่านั้น
ปัจจุบัน ฐานในการวิเคราะห์พฤติกรรมการเลือกตั้ง หรือปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังพฤติกรรมการลงคะแนน
ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ด้วยกัน คือ
1. กลุ่มที่มองเชิงตัวแปรสังคมเศรษฐกิจ (Social and Demographic Factors or Socio-Economic
Status) หรือกลุ่มที่มองถึงตัวแปรที่เป็นตัวกำาหนด (Deterministic Factors)
2. กลุ่มที่มองเชิงจิตวิทยา (Psychological Factors)
3. กลุ่มที่มองเชิงเศรษฐศาสตร์ (Economic Model) หรือกลุ่มที่ศึกษาถึงสำานึกในเชิงเหตุผล
(Consciously Rational Theories)
กลุ่มที่มองเชิงตัวแปรสังคมเศรษฐกิจให้ความสำาคัญกับตัวแปรปัจจัยทางสังคม และข้อมูลประชากร
เป็นหลัก แนวคิดนี้ได้รับอิทธิพลจากแนวทางการศึกษาแบบพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Study) ซึ่งได้รับ
ความนิยมอย่างมากในช่วงระหว่างปี ค.ศ.1950 - 1960 นักวิชาการในสำานักคิดนี้เชื่อว่าปัจจัยทางสังคมอันเป็น
ภูมิหลังของบุคคลเป็นตัวกำาหนดที่สำาคัญของพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง แนวคิดนี้
มีพื้นฐานจากแนวคิดทางสังคมวิทยา ในเรื่องสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม (Socio - economic Status)
มีการพิจารณาว่า ฐานะตำาแหน่งทางสังคมที่แตกต่างกันมีผลต่อพฤติกรรมของคนที่แตกต่างกันซึ่งรวมถึงพฤติกรรม
ในการเลือกตั้งด้วย กล่าวคือ ชาติกำาเนิด หรือเพศที่แตกต่างกันมาแต่กำาเนิด (Ascribed Status) หรือ ฐานะ
ทางการเงิน ระดับการศึกษา หรือชนชั้นทางสังคม ซึ่งถือเป็นฐานะทางสังคมที่ได้มาภายหลัง (Achieved Status)
ล้วนแล้วแต่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่แตกต่างกันไป
กลุ่มที่มองเชิงจิตวิทยา แนวคิดนี้ให้ความสำาคัญกับตัวแบบทางจิตวิทยา โดยมองปัจจัยความรู้สึก
หรือความผูกพันทางการเมืองที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง พฤติกรรมการลงคะแนน
เกิดขึ้นจากความผูกพันทางจิตใจต่อพรรคการเมือง (Party Dentification) ศึกษาเกี่ยวกับความจงรักภักดีของ
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีต่อพรรคการเมือง และความจงรักภักดีนี้สามารถถ่ายทอดกันไปในรูปแบบของกระบวนการ
สังคมปะกิต (Socialization) ซึ่งกระทำาผ่านสถาบันต่าง ๆ ในสังคม นอกจากนี้แนวการศึกษานี้ยังให้ความสำาคัญ