Page 38 - kpiebook63028
P. 38

37








                  พฤติกรรมกำรทุจริตในกำรเลือกตั้ง


                          นักวิชาการไทยจำานวนมากได้ศึกษาถึงรูปแบบและพฤติกรรมทุจริตในการเลือกตั้งของผู้สมัครเลือกตั้ง

                  และพรรคการเมืองต่าง ๆ ในประเทศไทย โดยมีความเห็นที่เหมือนกันและแตกต่างกันออกไป ดังนี้

                          ไพฑูรย์ บุญวัฒน์ (2538, น.23-27) เสนอว่า พฤติกรรมการเลือกตั้งเบี่ยงเบน มี 4 ประการ ดังนี้

                  การใช้อิทธิพลจากราชการ การใช้กลวิธีการพนัน การใช้กลวิธีการทำาลายคู่แข่ง และการใช้เงินซื้อคะแนนเสียง

                  เลือกตั้ง


                          การใช้อิทธิพลจากราชการ เกิดขึ้นจากนักการเมืองที่เป็นพรรครัฐบาล เป็นรัฐบาลรักษาการ
                  (Incumbent Government) สมาชิกของพรรคการเมืองที่ดำารงตำาแหน่งทางการเมืองเป็นรัฐมนตรีว่าการรัฐมนตรี
                  ช่วยว่าการ ที่กำากับควบคุมการทำางานของข้าราชการประจำาที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งทั้งทางตรงและทางอ้อม

                  เช่น กลไกของตำารวจ กลไกขององค์กรปกครองท้องถิ่น กลไกของสาธารณสุข กลไกของการศึกษา กลไกของ

                  กำานัน ผู้ใหญ่บ้าน กลไกของทหาร เป็นต้น

                          การใช้กลวิธีการพนัน แนวทางนี้สอดคล้องกับจิตวิทยาของประชาชนไทยส่วนหนึ่งที่ชอบการพนัน

                  ขันต่อ ผู้สมัครบางรายใช้หัวคะแนนของตนโดยเฉพาะหัวคะแนนที่เป็นเจ้ามือหวยเถื่อน คนเดินโพยหวย เพื่อ
                  ออกไปรับพนันขันต่อจากประชาชน เพื่อให้เลือกตน โดยแลกกับผลประโยชน์ที่ผู้พนันจะได้จากผลการเลือกตั้ง

                  หากผู้สมัครได้รับเลือกเลือกตั้ง ผู้รับพนันจะจ่ายในอัตราสองเท่า สามเท่า ของเงินพนันที่ลงไป วงเงิน
                  การวางพนันมากน้อยแล้วแต่ผู้สมัครจะกำาหนด กลวิธีการพนันนิยมใช้โดยผู้สมัครที่มีฐานะทางการเงินที่ดี

                  ใช้เงินจำานวนมาก และไม่ต้องเป็นบุญคุณกับผู้ลงคะแนนเสียงให้ตน


                          กลวิธีการทำาลายคู่แข่งขัน กลวิธีนี้มีความหลากหลาย เริ่มตั้งแต่การทำาร้ายผู้สมัครด้วยกัน เช่น
                  การจ้างมือปืนมาสังหารชีวิตผู้สมัครหรือหัวคะแนน ทำาร้ายร่างกายผู้สมัครหรือหัวคะแนน ข่มขู่ผู้สมัครหรือ

                  หัวคะแนน ทำาลายทรัพย์สินของผู้สมัคร โดยเฉพาะป้ายหาเสียง ปล่อยข่าวลือผ่านสื่อหรือช่องทางต่าง ๆ
                  มีการขุดคุ้ย ใส่ร้ายป้ายสี ผู้สมัครเพื่อให้ประชาชนมีความรู้สึกเกลียดชัง


                          การใช้เงินซื้อคะแนนเสียงเลือกตั้ง มีหลายรูปแบบตั้งแต่ การจ่ายเงินเพื่อให้ประชาชนไปลงคะแนน

                  เสียงให้กับผู้สมัครทั้งช่วงก่อนการเลือกตั้งและหลังการเลือกตั้ง การจ่ายเงินให้หัวคะแนนเพื่อให้นำาไปแจกจ่าย
                  ให้กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งอีกทอดหนึ่ง หรือการแจกจ่ายสิ่งของ จัดเลี้ยง จัดนำาเที่ยว ให้กับประชาชน

                  ผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือสมาชิกในครอบครัวเพื่อแลกกับการลงคะแนนเสียงให้
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43