Page 37 - kpiebook63028
P. 37

36       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดชลบุรี








             กับปัจจัยที่ผู้ลงคะแนนมีความชมชอบในตัวผู้สมัคร (Perception of the Candidates) และความชื่นชอบ

             ในนโยบายหรือประเด็นทางการเมือง (Issues Preferences or Policy Voting) โดยมองว่าสิ่งเหล่านี้มีผลต่อ
             พฤติกรรมการเลือกตั้ง


                      แนวคิดสำานึกเชิงเหตุผล แนวคิดนี้เชื่อว่า พฤติกรรมการออกไปใช้สิทธิออกเสียงนั้นเกิดจากการใช้เหตุผล

             ใคร่ครวญถึงผลได้ผลเสียจากการไปใช้สิทธิดังกล่าว พิจารณาถึงตัวผู้สมัครพรรคและนโยบายพรรค พิจารณา
             ในรูปของกรอบความคิดเชิงสมเหตุสมผล (Rational Framework) นักวิชาการแนวนี้เชื่อว่าการออกไปใช้

             สิทธิเลือกตั้งสามารถเทียบเคียงได้กับการตัดสินใจของผู้บริโภคในทางเศรษฐศาสตร์ เชื่อว่ามนุษย์เป็นมนุษย์
             เศรษฐกิจ (Economic Man) มาใช้ศึกษาการตัดสินใจทางการเมือง แนวทางศึกษานี้เห็นว่า ตัวแบบนี้จึงมีชื่อเรียก

             อีกอย่างหนึ่งว่า “ตัวแบบการเลือกตั้งโดย 4 เหตุและผล” หรือ “The Rational Choice Mode” แนวคิดนี้
             ได้รับความนิยมเฟื่องฟูในช่วงที่แนวคิดพฤติกรรมศาสตร์ขยายตัวอย่างมาก แนวคิดนี้พยายามอธิบายพฤติกรรม

             การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของผู้มีสิทธิออกเสียงในสหรัฐอเมริกาสมัยแรกในช่วง ค.ศ. 1940 - 1950 มองว่า
             พฤติกรรมการเลือกตั้งเกิดจากความมีสำานึกในเชิงเหตุผลของบุคคลเชิงผลประโยชน์ที่ได้รับหักล้างกับต้นทุนของ

             พฤติกรรมนั้น (Cost - benefit) แนวคิดนี้เชื่อว่าความนิยมพรรคและของสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของ
             ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงมากกว่าปัจจัยตัวพรรคการเมือง และปัจจัย

             ตัวผู้สมัครรับเลือก ต่อมาแนวคิดนี้เริ่มหันมาให้ความสำาคัญกับอิทธิพลของพรรคและตัวผู้สมัครอย่างกว้างขวาง
             ขึ้น โดยมีการศึกษาถึงปัจจัยพฤติกรรมของผู้นำาพรรคว่ามีผลต่อผู้ใช้สิทธิลงคะแนนเสียงหรือไม่ และศึกษาบทบาท

             ของผู้รณรงค์หาเสียง (Voting Campaign Manager) รวมถึงศึกษาถึงนโยบายพรรค (Political Platforms)


                      แนวคิดนี้ถือว่าการลงคะแนนเสียงของผู้มีสิทธินั้นเป็นเครื่องมือ (Instrument) ที่จะมาซึ่งผลประโยชน์
             หรือเป้าหมายที่ผู้สมัครต้องการ ผู้ลงคะแนนเสียงนั้นเป็นผู้มีเหตุผล (Rational Voter) ดังนั้นก่อนการตัดสินใจ
             เลือกผู้สมัครผู้มีสิทธิออกเสียงจะพิจารณาจากผลประโยชน์ของตนเป็นที่ตั้ง แนวคิดนี้ให้ความสำาคัญกับเป้าหมาย

             ทางการเมืองของตนโดยเลือกเพื่อให้เป้าหมายทางการเมืองของตนบรรลุวัตถุประสงค์ และแนวคิดนี้เชื่อว่า

             พฤติกรรมการเลือกตั้ง หรือการตัดสินใจลงคะแนนเสียงของผู้ลงคะแนนเสียงนั้นเกิดจากการพิจารณาอย่าง
             ละเอียดรอบคอบ ระมัดระวัง โดยมีการใช้ข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอประกอบการตัดสินใจ


                      ในทางปฏิบัติผู้ลงคะแนนเสียงจะตั้งหลักเกณฑ์ของตนในการที่เลือกผู้สมัครที่ตนพอใจมากที่สุด
             รับข้อมูลข่าวสารทางการเมืองเกี่ยวกับตัวผู้สมัคร หรือเกี่ยวกับพรรคการเมืองที่ผู้สมัครนั้นสังกัดอยู่ หลังจากนั้น

             ก็จะประเมินข้อมูลข่างสารนั้น พิจารณาว่าสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่ตนได้กำาหนดไว้ก่อนหรือไม่  หลังจากนั้น

             จึงทำาการลงคะแนน โดยที่ผู้ลงคะแนนบางคนอาจให้ความสำาคัญกับคุณสมบัติส่วนตัวของผู้สมัคร บางคนให้
             ความสำาคัญกับนโยบายของพรรคการเมือง
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42