Page 42 - kpiebook63028
P. 42

41








                          กัมชัย ห่อทองคำา (2539, น.57-65) ได้ศึกษาเรื่อง ผู้มีอิทธิพลท้องถิ่นกับการเลือกตั้ง ศึกษาเฉพาะ

                  กรณีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 2 จังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2535 ได้เสนอวิธีการทำางานของหัวคะแนน
                  ในการเลือกตั้งว่า หัวคะแนนมี 2 ประเภท คือ หัวคะแนนหลัก และหัวคะแนนรอง โดยหัวคะแนนหลักเป็นบุคคล

                  ที่มีความสนิทสนมเป็นการส่วนตัวกับผู้สมัครในทางใดทางหนึ่ง เช่น เป็นญาติพี่น้อง เป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์
                  เชิงอุปถัมภ์มีบุญคุณต่อกัน เป็นผู้ที่ผู้สมัครไว้วางใจได้ เป็นที่รู้จักของประชาชนในเขตการเลือกตั้งนั้น มี

                  พรรคพวกเพื่อนฝูงมาก มีข้อมูลทางการเมืองทั้งของผู้สมัครและคู่แข่งเป็นอย่างดี สามารถระดมเครือข่าย
                  มาช่วยงานทางการเมืองได้ หน้าที่สำาคัญที่สุดของหัวคะแนนหลัก คือ “แปรเสียงให้เป็นคะแนน”


                          หัวคะแนนหลักมักเป็นพ่อค้านักธุรกิจก่อสร้าง สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล ผู้อำานวยการ

                  โรงเรียน กำานัน ผู้ใหญ่บ้าน โดยปกติหัวคะแนนหลักจะไม่พบปะกับประชาชนโดยตรง แต่จะเป็นตัวกลางใน
                  การประสานงานระหว่างผู้สมัครกับหัวคะแนนรอง หากผู้สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเดิมนั้น หัวคะแนนหลัก

                  มักเป็นผู้นำาท้องถิ่นที่มีความสัมพันธ์เชิงเกื้อหนุน โดยมีการตอบแทนในรูปแบบของการจัดสรรงบประมาณ
                  ในการพัฒนาจังหวัดให้ผู้นำาท้องถิ่นหรือเครือข่ายของผู้นำาท้องถิ่นที่เป็นหัวคะแนนรอง


                          หัวคะแนนรอง เป็นหัวคะแนนระดับล่าง อาจเป็นบุคคลที่ไม่ได้สนิทสนมกับผู้สมัครเป็นการส่วนตัว

                  ในทางใดทางหนึ่ง แต่หัวคะแนนรองเป็นผู้ที่มีความสนิมสนมกับผู้ที่เป็นหัวคะแนนหลัก หัวคะแนนรองนั้นมี
                  หลายระดับลดหลั่นลงไปในรูปแบบเครือข่ายแบ่งความรับผิดชอบกันไปตั้งแต่ระดับตำาบลลงไปจนถึงระดับ
                  หมู่บ้าน เป็นที่น่าสังเกตว่ากลุ่มหัวคะแนนรองนั้นมักไม่มีความจงรักภักดีกับผู้สมัครรายใดรายหนึ่งเป็นการเฉพาะ

                  หัวคะแนนรายย่อยกับผู้สมัครมีความสัมพันธ์กันด้วยค่าจ้าง เงินรางวัล ซึ่งเป็นผลตอบแทนระยะสั้น เป็นครั้งคราว

                  ตามการเลือกตั้ง บางครั้งหัวคะแนนรายย่อยอาจจะทำางานให้กับผู้สมัครหลายคนในคราวเดียวกันโดยเฉพาะ
                  กรณีที่ระบบการเลือกตั้งเป็นแบบแบ่งเขตเรียงเบอร์ที่ประชาชนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งคนหนึ่งเลือกผู้สมัครได้มากกว่า
                  หนึ่งคน (One Man Several Votes) หัวคะแนนระดับรอง มักได้แก่ ข้าราชการชั้นผู้น้อย ครู ผู้ใหญ่บ้าน

                  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำาบล ประธานชมรมกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ชมรมแม่บ้าน

                  อาสาสมัครสาธารณสุข และบางครั้งก็เป็นพระสงฆ์


                          หัวคะแนนมีระบบบริหารจัดการเหมือนองค์การที่มีระบบขายตรง หรือไดเร็คเซลล์ การแบ่งเขตพื้นที่
                  หรือโซนนิ่งให้กับหัวคะแนนรายย่อยตั้งเป้าหมายในการคุมคะแนนเสียง ลงเข้าไปในระดับย่อยกว่าหมู่บ้าน คือ
                  ลงไปถึงครัวเรือน ในบางพื้นที่ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่ใช่ฐานเสียงจัดตั้งของผู้สมัคร ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งยังไม่

                  ตัดสินใจว่าจะเลือกผู้สมัครผู้ใด จะต้องมีการจัดตั้งหัวคะแนนย่อยที่มีความสนิมสนมกับครัวเรือนเหล่านี้เพื่อ

                  คุมเสียง การลงรายละเอียดเช่นนี้ส่งผลให้จำานวนหัวคะแนนย่อยมีจำานวนมาก ผู้สมัครต้องจ่ายค่าใช้จ่ายใน
                  การเลือกตั้งจำานวนมากขึ้น
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47