Page 44 - kpiebook63028
P. 44
43
อวิกา เอกทัตร (2549) ได้ศึกษาเรื่อง การเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น เรื่อง การซื้อสิทธิขายเสียงของ
พรรคการเมืองท้องถิ่น: กรณีศึกษาเทศบาลตำาบลหนึ่งในเขตภาคตะวันออก ผู้วิจัยได้ใช้การสัมภาษณ์อย่างเจาะลึก
พบว่า พฤติกรรมการซื้อสิทธิขายเสียงแบ่งเป็น 5 รูปแบบ คือ รูปแบบการซื้อหัวคะแนน รูปแบบซื้อสมาชิก
ฝ่ายตรงข้าม รูปแบบการตัดผู้สมัครฝ่ายตรงข้าม และการสร้างผู้สมัครเทียม รูปแบบในการจัดงานเลี้ยง รูป
แบบในการซื้อตำาแหน่งภายในพรรค ผู้วิจัยพบว่า ระบบอุปถัมภ์ทางการเมืองแบบเครือญาติลดบทบาทลง
เนื่องจากความเป็นเมืองและระบบเศรษฐกิจแบบเงินตราเข้ามาในชุมชนมากขึ้น ทำาให้เกิดระบบอุปถัมภ์ทาง
เศรษฐกิจแบบนายกับลูกจ้างโดยมีเงินตราและผลตอบแทนในทางเศรษฐกิจในระบบงบประมาณท้องถิ่นเข้ามา
มีบทบาทสำาคัญ
สุวัตร์ ตั้งจิตรเจริญ (2548) ได้ศึกษาเรื่อง การตัดสินใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ในระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง: จังหวัดระยอง โดยศึกษาพฤติกรรมการเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ. 2548
ของกลุ่มตัวอย่างผู้มีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดระยอง พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ
โดยเลือกพรรคไทยรักไทยมาเป็นอันดับแรก เนื่องจากความพอใจในนโยบายของพรรคไทยรักไทย โดยเฉพาะ
นโยบายการปราบปรามยาเสพติด รองลงมา คือ โครงการประกันสุขภาพ และการปราบผู้มีอิทธิพล รูปแบบ
การทุจริตการเลือกตั้งที่กลุ่มตัวอย่างพบมากที่สุด คือ การแจกเงินซื้อเสียง การแจกของ และกึ่งหนึ่งของ
กลุ่มตัวอย่างไม่มั่นใจในการวางตัวเป็นกลางของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำาจังหวัด โดยกลุ่มตัวอย่าง
เกินกว่ากึ่งหนึ่งเชื่อว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำาจังหวัดเข้าข้างผู้สมัครที่มาจากฝ่ายรัฐบาล รวมถึง
ไม่แน่ใจในกระบวนการให้ใบแดงใบเหลือง
นาตาชา วศินดิลก (2540) ได้ศึกษาเรื่อง โครงสร้างอำานาจในชุมชนกับการเมืองท้องถิ่น: ศึกษา
กรณีเมืองพัทยา งานวิจัยชิ้นนี้ถือเป็นงานวิจัยที่ศึกษาระบบอุปถัมภ์หลักในจังหวัดชลบุรี ซึ่งมีผลต่อการ
เลือกตั้งในเมืองพัทยา ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายบ้านใหญ่ วิเคราะห์ระบบการทำางาน
ของเครือข่ายบ้านใหญ่ได้อย่างชัดเจน ข้อสรุปที่ได้จากการวิจัย คือ เมืองพัทยามีการกระจุกตัวของอำานาจ
ในทางการเมือง กลุ่มสมาชิกสภาเมืองพัทยาประเภทที่หนึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่อยู่ในเครือข่ายของบ้านใหญ่ โดย
มีความสัมพันธ์ในเชิงอุปถัมภ์ โครงสร้างอำานาจเป็นในรูปองค์กรที่มีวัตถุประสงค์ โครงสร้าง การแบ่งหน้าที่ การ
ตอบแทนที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม มีกติกาภายในกลุ่มที่อยู่ภายใต้ภาวะผู้นำาของหัวหน้ากลุ่มบ้านใหญ่ การตอบแทน
ทางการเมืองเป็นไปในรูปแบบของระบบงบประมาณของรัฐบาลท้องถิ่น ที่เห็นได้ชัดเจน คือ การก่อสร้างต่าง ๆ
เช่น ถนน บ่อบำาบัดนำ้าเสีย แนวการวิเคราะห์ของนาตาชา สามารถนำามาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์การเลือกตั้ง
ในระดับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เป็นอย่างดี
เพ่ง บัวหอม (2548) ได้ศึกษาเรื่อง โครงสร้างอำานาจชุมชนกับการเลือกตั้งนายกองค์การบริหาร
ส่วนตำาบลโดยตรง: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำาบลสัตหีบ อำาเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พบว่า โครงสร้าง
อำานาจชุมชนที่มีแต่เดิมความสัมพันธ์ในเชิงเครือญาติได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นความสัมพันธ์ในเชิงเศรษฐกิจ
โครงสร้างอำานาจที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เป็นสังคมอุตสาหกรรม
เมื่อมีการกระจายอำานาจไปสู่องค์การบริหารส่วนตำาบล การเลือกตั้งโดยตรงนายกองค์การบริหารส่วนตำาบล
ผู้สมัครที่อาศัยความสัมพันธ์ในเชิงเครือญาติเสียเปรียบผู้สมัครที่ใช้เงินในการเลือกตั้ง และนำาไปสู่ระบบ
สองปีซ่อมทุน สองปีสร้างทุน