Page 48 - kpiebook63028
P. 48

47








                  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556 จำานวน 400 คน

                  และผู้สมัครรับเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำานวน 10 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ
                  ในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบด้วยสถิติ

                  ทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง โดยการทดสอบ
                  ค่าเอฟ และค่าสถิติไคสแควร์ ผลการวิจัย พบว่า


                          1.   ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 18-25 ปี มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา

                               ส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจส่วนตัว มีรายได้ 5,001-10,000 บาท และมีระยะเวลาที่อาศัยในเขต
                               ดอนเมือง มากกว่า 15 ปีขึ้นไป


                          2.   ประชาชน เห็นว่าการสื่อสารทางการเมืองมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออกเสียงเลือกตั้งซ่อม ส.ส.
                               ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง โดยเห็นว่ามีอิทธิพลอยู่ในระดับมาก คือ สื่อบุคคล

                               ส่วนสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อเฉพาะกิจ อยู่ในระดับปานกลาง

                          3.   ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ไปทุกครั้งที่มีสิทธิไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เนื่องจากต้องการได้คนที่ตน

                               พอใจไปเป็นผู้แทน และไม่ไปใช้สิทธิฯ เนื่องจากไม่มีเวลา และ ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นสมาชิก
                               พรรคการเมือง


                          4.   ประชาชนที่มีรายได้เฉลี่ยเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อระดับอิทธิพลของการสื่อสารทาง
                               การเมืองที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกเสียงเลือกตั้งซ่อม ส.ส. แตกต่างกัน ส่วนเพศ อายุ ระดับ

                               การศึกษา อาชีพ และระยะเวลาที่อาศัยในเขตดอนเมืองไม่แตกต่างกัน

                          5.   เพศ อายุ อาชีพ และระยะเวลาที่อาศัยในเขตดอนเมือง มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออกเสียง

                               เลือกตั้งซ่อม ส.ส. ด้านการไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่น

                          6.   อายุ อาชีพ และระยะเวลาที่อาศัยในเขตดอนเมือง มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม การออกเสียง

                               เลือกตั้งซ่อม ส.ส. ด้านการไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งล่าสุด

                          7.   สื่อสารทางการเมือง โดยรวม และด้านสื่อสิ่งพิมพ์ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม การออกเสียงเลือกตั้ง

                               ซ่อม ส.ส. วันที่ 16 มิถุนายน 2556 ด้านการไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่น

                          8.   สื่อสารทางการเมือง โดยรวม และรายด้าน ได้แก่ ด้านสื่อบุคคล ด้านสื่อสิ่งพิมพ์ ด้าน

                               สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และด้านสื่อเฉพาะกิจ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออกเสียงเลือกตั้งซ่อม ส.ส.

                               ด้านการไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งล่าสุด
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53