Page 45 - kpiebook63028
P. 45

44       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดชลบุรี








                      จิติล คุ้มครอง (2544) ได้ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 2 จังหวัด

             ชลบุรี ครั้งการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 6 มกราคม 2544 พบว่า สาเหตุที่ผู้มีสิทธิออกไปใช้สิทธิเพราะถือเป็น
             หน้าที่ของประชาชนในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย มากกว่าการได้รับเงินจากการซื้อสิทธิขายเสียง

             ผู้ลงคะแนนให้ความสำาคัญกับการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองมากกว่าที่จะเข้าไปร่วมกิจกรรมทางการเมือง และ
             ผู้มีสิทธิออกเสียงจะเลือกผู้สมัครโดยพิจารณาประกอบทั้งตัวบุคคลและตัวพรรค มากกว่าจะเลือกตัวบุคคล


                      เกริกไกร วีระเชาวภาส (2557) ได้ศึกษาเรื่อง การกระทำาผิดกฎหมายเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน

             ราษฎรของผู้มีส่วนได้เสียทางการเมืองกับผู้สมัครในการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550
             เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีรวบรวมข้อมูลสารโดยศึกษาวิเคราะห์คำาสั่งของศาลฎีกา (แผนกคดีเลือกตั้ง)

             ช่วงปี พ.ศ. 2551-2552 คดีความผิดเกี่ยวกับกฎหมายที่เกิดขึ้นจากการจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่
             23 ธันวาคม 2550 กรณีการสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่กระทำาผิด

             กฎหมายเลือกตั้ง และการสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติการณ์ของ
             ผู้ที่มีส่วนได้เสียทางการเมือง การเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการร่วมกันกระทำาความผิดกฎหมาย

             เลือกตั้ง ตามคำาสั่งศาลฎีกา (แผนกคดีเลือกตั้ง) เมื่อปี พ.ศ. 2551-2552 2) ศึกษาสาเหตุการกระทำาความผิด
             กฎหมายเลือกตั้งของผู้มีส่วนได้เสียทางการเมืองผู้สมัครรับเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550

             3) เสนอแนะแนวทางป้องกันมิให้ผู้มีส่วนได้เสียทางการเมืองร่วมมือกับผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทน
             ราษฎรกระทำาความผิดกฎหมายเลือกตั้ง ผลวิจัย พบว่า หนึ่ง พฤติกรรมการกระทำาความผิดของผู้มีส่วนได้เสีย

             กับผู้สมัครมี 2 ลักษณะคือ (1) มีลักษณะเป็นการคบหาสมาคมที่แตกต่าง กล่าวคือ ผู้กระทำาหลายคนสมคบ
             และร่วมมือกันทำาผิดกฎหมายเลือกตั้งอย่างเป็นขบวนการ มีการวางแผนนัดหมาย และมีการแบ่งหน้าที่กันทำา

             อย่างเป็นขั้นเป็นตอน (2) มีลักษณะเป็นการลอกเลียนแบบ สอง สาเหตุของการกระทำาความผิดกฎหมายเลือกตั้ง
             ที่สำาคัญมี 3 ประการคือ (1) ผู้มีส่วนได้เสียทางการเมืองกับผู้สมัครมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันเป็นส่วนตัว

             ก่อนหน้าแล้ว การกระทำาผิดมิได้เกิดขึ้นจากค่าจ้าง หรือผลประโยชน์ทางการเงิน หรือทรัพย์สินเป็นการตอบแทน
             (2) พฤติกรรมการเลียนแบบการกระทำาความผิดของผู้มีส่วนได้เสียทางการเมืองกับผู้สมัคร ซึ่งมาจากซื้อเสียง

             เลือกตั้งในเขตเลือกตั้งอื่นหรือจังหวัดอื่น (3) โครงสร้างการบังคับใช้กฎหมาย มุ่งลงโทษผู้สมัครเป็นสำาคัญ
             มิให้ความสำาคัญกับการลงโทษผู้มีส่วนได้เสียทางการเมืองกับผู้สมัคร ซึ่งมีพฤติการณ์เป็นผู้ก่อ ผู้ใช้ตัวการ และ

             ผู้สนับสนุนการกระทำาผิดกฏหมายเลือกตั้งแต่อย่างใด จึงเกิดการเลียนแบบรูปแบบพฤติกรรม วิธีคิดและ
             ความรู้สึกนึกคิด และมีการพัฒนาเป็นนวัตกรรมของการเลียนแบบ


                      ศิรินทรา ทรัพย์ยังเจริญ และรัฐศิรินทร์ วังกานนท์ (2562) ศึกษาเรื่องวัยรุ่นกับการเลือกตั้งระบบใหม่
             ในสังคมเมืองพหุวัฒนธรรม อำาเภอเมือง จังหวัดปัตตานี วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาปัญหาความรู้

             ความเข้าใจของวัยรุ่นในการเลือกตั้งระบบใหม่ 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจของวัยรุ่นต่อเลือกตั้งระบบใหม่ การศึกษา

             ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์ที่ตรงกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยการทำาแบบทดสอบสัมภาษณ์
             การสังเกตการจดบันทึกผู้ให้ข้อมูลหลัก จากนั้นนำาข้อมูลที่ได้มาจัดกลุ่มข้อมูลและสร้างข้อสรุปจากการศึกษา
             วิเคราะห์ข้อมูล เพื่ออธิบายและข้อสรุปทั้งหมด เพื่อหาคำาตอบภายใต้วัตถุประสงค์และทฤษฎี และผลการวิจัยพบ
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50