Page 140 - kpiebook63019
P. 140
135
และเมื่อวิเคราะห์ตามองค์ประกอบย่อย พบว่า ค่าเฉลี่ยของกลุ่มระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ต่ำกว่า
ค่าเฉลี่ยในภาพรวมของทุกองค์ประกอบด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ มีข้อสังเกตว่า ค่าเฉลี่ยด้านความสำนึกความรับผิดชอบของสมาชิก
รัฐสภาต่อประชาชนทั่วประเทศของกลุ่มระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยด้านนี้ในภาพรวม
ค่าเฉลี่ยด้านระบบการรายงาน ตรวจสอบ และลงโทษสมาชิกรัฐสภา กรณีมีพฤติกรรมผิดจริยธรรมหรือ
เข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อนของกลุ่มระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี และกลุ่มระดับการศึกษาปริญญาตรี
ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยด้านนี้ในภาพรวม ส่วนค่าเฉลี่ยด้านการสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนที่มีต่อรัฐสภา
และค่าเฉลี่ยด้านการพัฒนาการเรียนรู้และเสริมสร้างขีดความสามารถของสมาชิกรัฐสภาของกลุ่มระดับ
การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี และกลุ่มระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั้งสองด้านนี้
ในภาพรวม สรุปผลได้ดังตาราง 4-23
ตาราง 4-23 ค่าเฉลี่ยของผลการประเมินรัฐสภา ด้านความสำนึกรับผิดชอบ จำแนกผู้ประเมินตาม
กลุ่มระดับการศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี สูงกว่าปริญญาตรี
องค์ประกอบย่อย
ค่าเฉลี่ย S.D. จำนวนผู้ตอบ ค่าเฉลี่ย S.D. จำนวนผู้ตอบ ค่าเฉลี่ย S.D. จำนวนผู้ตอบ
A1 2.36 1.03 11 3.21 0.98 24 3.05 1.12 59
A2 2.15 1.17 9 2.42 0.97 16 2.57 1.10 46
A3 2.42 0.89 8 2.60 0.71 19 2.51 1.03 49
A4 2.50 0.85 10 3.05 0.74 21 2.70 1.15 60
A 2.24 0.88 12 2.72 0.77 24 2.70 0.85 63
4.2.5.6 ความเห็นจากที่ประชุมกลุ่มต่อการดำเนินงานของรัฐสภา ด้านสำนึกรับผิดชอบ
ของรัฐสภา
องค์ประกอบย่อยด้านความสำนึกรับผิดชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ต่อประชาชนทั่วประเทศ นั้น เห็นว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อประชาชนทั้งประเทศ
โดยดูจากผลงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้แก่ รายชื่อและจำนวนกฎหมายที่ประกาศบังคับใช้ซึ่งเป็น
ประโยชน์ต่อสาธารณะ เป็นต้น แต่เนื่องจากการได้มาของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติมาจากการแต่งตั้ง
ทำให้ขาดความเชื่อมโยงระหว่างสมาชิกกับประชาชนในพื้นที่ แม้จะมีโครงการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
พบประชาชนมิได้เป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง
การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)