Page 142 - kpiebook63019
P. 142
137
- รายการของสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ รัฐสภา ผิดวัตถุประสงค์
และหน้าที่ของสถานี อาทิ การเผยแพร่กิจกรรมของฝ่ายบริหาร เป็นต้น
- หน่วยงานทำหน้าที่สนับสนุนต่าง ๆ การวิเคราะห์ข้อมูล ไม่แน่ใจว่าได้ทำหน้าที่
หรือไม่
- การขาดความร่วมมือระหว่างสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสำนักงานเลขาธิการ
สภาผู้แทนราษฎร ในการจัดทำบทสรุปการประชุมเพื่อประชาสัมพันธ์สู่
สาธารณะผ่านสื่อรัฐสภา
ในส่วนที่เกี่ยวกับพฤติกรรมผิดจริยธรรมของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ผู้ทรงคุณวุฒิชี้ให้เห็นถึงประเด็นการแต่งตั้งสมาชิกในครอบครัวเข้ามาทำหน้าที่ผู้ช่วยดำเนินงาน ผู้ชำนาญการ
ผู้เชี่ยวชาญประจำสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง ทั้งนี้ แม้ต่อมาสภานิติบัญญัติ
แห่งชาติจะได้มีการแก้ไขโดยปรับเปลี่ยนผู้เข้ามาทำหน้าที่มิได้มาจากบุคคลที่มีสถานะความสัมพันธ์ไม่เหมาะสม
แต่ก็เป็นภาพจำของสังคมในเรื่องดังกล่าว
นอกจากนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิยังเห็นว่าไม่มีความชัดเจนว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
มีการนำข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมมาประยุกต์ใช้ ส่วนการตรวจสอบและการลงโทษเมื่อสมาชิก
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับ แม้จะมีการตรวจสอบและลงโทษ แต่ผลยังไม่เป็นที่ทราบ
ในวงกว้าง ในขณะเดียวกัน ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติกลับทำผิดข้อบังคับเอง กรณีการอนุญาตให้สมาชิก
สภานิติบัญญัติแห่งชาติขาดการประชุมซึ่งน่าจะเป็นการทำผิด เนื่องจากเชื่อว่าไม่มีกฎหมายกำหนดให้ประธาน
อนุญาตให้ลาประชุมได้ การเข้าประชุมสภาเป็นหน้าที่ของสมาชิกต้องเข้าประชุม 54
สำหรับประเด็น “ผลประโยชน์ทับซ้อน” ผู้ทรงคุณวุฒิเชื่อว่า น่าจะมีเบื้องหลัง อาทิ
กรณีการขึ้นเงินเดือน ผลประโยชน์ตอบแทน และ อื่น ๆ ให้แก่หน่วยงานที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
เคยดำรงตำแหน่งหรือยังปฏิบัติหน้าที่อยู่
ในด้านการสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนที่มีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่า สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีทั้งเงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่ม ค่าเบี้ยประชุม
และยังมีเงินเดือนประจำอีกในเวลาเดียวกัน ซึ่งน่าจะจัดว่าเป็นการทำงานซ้ำซ้อน ยิ่งไปกว่านี้สมาชิก
54 ในกรณีดังกล่าว ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ชี้แจงว่า การลาประชุมของสมาชิกสภานิติบัญญัติเป็นไปโดยถูกต้องตาม
ข้อบังคับการประชุมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พุทธศักราช 2557 ซึ่งกำหนดให้สมาชิกสภานิติบัญญัติ ต้องลงมติอย่างน้อย 1 ใน 3
ของทุกรอบ 90 วัน โดยตนได้มอบหมายให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทำการตรวจสอบแล้ว ทั้งนี้เงื่อนไขในการลาประชุมชองสมาชิก
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ คือ จะต้องเป็นการลาป่วย หรือลากิจ เฉพาะการไปปฏิบัติราชการของสภา หรือส่วนราชการอื่นเท่านั้น
ซึ่งในกรณีของลาป่วยสามารถทำเรื่องลาย้อนหลังได้ แต่ต้องมีใบรับรองแพทย์ ส่วนการลากิจส่วนใหญ่ จะทำเรื่องลามายังประธาน
สภานิติบัญญัติแห่งชาติทันที โดยการลาทั้งในกรณีป่วยและไปปฏิบัติราชการสามารถทำเรื่องขอลาได้โดยไม่จำกัด เพียงแต่ต้องปฏิบัติตาม
ขั้นตอนของสภาเท่านั้น โปรดดู “พรเพชร” ชี้ 7 สนช.ลาถูกต้องไม่ขาดสมาชิกภาพ โต้ขาดกันบ่อยไม่เกี่ยวควบหลายเก้าอี้, โดย ผู้จัดการ
ออนไลน์, 2560, สืบค้นจาก https://mgronline.com/politics/detail/9600000015508
การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)