Page 141 - kpiebook63019
P. 141
136
การมีระบบการรายงาน ตรวจสอบ และลงโทษสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
กรณีมีพฤติกรรมผิดจริยธรรมหรือเข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อน เห็นว่ามีอยู่แต่ขาดการบังคับใช้อย่างจริงจัง
นอกจากนั้น ยังพบว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติกลับไม่มีบทลงโทษพฤติกรรมผิดจริยธรรม เช่น กรณีสมาชิก
ขาดประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งแม้จะมีความพยายามดำเนินการแก้ไขเรื่องดังกล่าว แต่ประชาชนยังคง
ติดภาพของกระบวนการตรวจสอบที่มีปัญหาอยู่
ในด้านการสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนที่มีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาตินั้น
พบว่าไม่มีการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐสภา ทั้งนี้ แม้จะมีข้อมูลพื้นฐานเพื่อแสดงถึงการทำงาน
ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติแต่ละท่าน เช่น สถิติการเข้าประชุมสภา สถิติการเข้าประชุมคณะกรรมาธิการ
สถิติการอภิปราย และวาระการประชุมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติและคณะกรรมาธิการ แต่ประชาชน
ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ทำให้ในที่สุดเห็นว่าผลการดำเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่คุ้มค่ากับ
ผลตอบแทนโดยรวม
ส่วนการพัฒนาการเรียนรู้และเสริมสร้างขีดความสามารถของสมาชิกสภานิติบัญญัติ
แห่งชาตินั้น เห็นว่าควรจัดให้มีกระบวนการพัฒนาสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่ต้องประเมินประสิทธิภาพ
ของผลงานอย่างเป็นรูปธรรม
4.2.5.7 ความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิต่อการดำเนินงานของรัฐสภา ด้านสำนึกรับผิดชอบ
ของรัฐสภา
องค์ประกอบย่อยด้านความสำนึกรับผิดชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ต่อประชาชนทั้งประเทศ สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีความสำนึกรับผิดชอบต่อประชาชน แต่ก็อยู่ภายใต้
การครอบงำต่อฝ่ายบริหารซึ่งมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจมากกว่า โดยมีข้อเสนอแนะว่าในการประเมินสมาชิก
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ควรดูที่วัตถุประสงค์การแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยมีเกณฑ์ในการประเมิน
อาทิ การปฏิบัติหน้าที่ การเข้าร่วมประชุม การออกเสียงลงมติ การออกกฎหมาย การทำหน้าที่เสนอความเห็น
การอภิปราย การทุ่มเทต่อการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะของสมาชิกในฐานะกรรมาธิการ เป็นต้น
นอกจากนี้ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิยังเสริมว่าประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย
อาจให้สมาชิกรัฐสภาประเมินตนเองและให้สมาชิกรัฐสภาทุกคนประเมินตนเองไปพร้อมกัน โดยมีนักวิจัย
เข้าร่วมสังเกตการณ์การดำเนินงานของสมาชิกรัฐสภาประกอบด้วย เพื่อให้ได้เนื้อหาและผลการประเมิน
ที่ใกล้เคียงความเป็นจริง
ระบบการรายงาน ตรวจสอบ และลงโทษสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กรณีมี
พฤติกรรมผิดจริยธรรมหรือเข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อน นั้น ผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้ความเห็นว่า การจัดการเพื่อให้
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติรายงานการทำหน้าที่ต่อประชาชน ยังไม่เป็นระบบ อาทิ
- สถานที่ประชุม ห้องประชุม ที่พักของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ยังไม่ลงตัว
การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)