Page 143 - kpiebook63019
P. 143

138






               สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ยังได้รับความสนับสนุนด้านบุคลากร ด้วยการให้ค่าตอบแทนแก่บุคคลเพื่อเข้ามา

               ช่วยประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วย

                                     สำหรับข้อมูลพื้นฐานเพื่อแสดงถึงการทำงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีปรากฎอยู่

               แต่ไม่สามารถเข้าถึงได้ จากประสบการณ์ของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่าการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สำนักงาน
               เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ทั้งสองสำนักงาน มีความกระตือรือร้น

               ในการทำงาน จัดการข้อมูลเป็นระบบ และสามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

                                     การพัฒนาการเรียนรู้และเสริมสร้างขีดความสามารถของสมาชิกรัฐสภา ผู้ทรงคุณวุฒิ
               ให้ความเห็นว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีการจัดกิจกรรมหรือโครงการพัฒนาการเรียนรู้ของสมาชิกสภา

               นิติบัญญัติแห่งชาติ แต่ไม่น่าจะประสบความสำเร็จ  ในขณะที่บางท่านกล่าวว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่มี
               การพัฒนาการเรียนรู้ให้แก่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ  การดูงานเป็นการดูงานที่ไม่ได้ให้ความรู้


                     
 
   4.2.5.8  ข้อเสนอแนะดำเนินงานของรัฐสภา ด้านสำนึกรับผิดชอบของรัฐสภา

                     
 
 
 
     
   - ต้องจัดให้มีการตรวจสอบประมวลจริยธรรมอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะการทุจริต

               ต่อหน้าที่ อาทิ การแต่งตั้งบุคคลเป็นสมาชิกวุฒิสภา เช่น บุคคลที่เคยมีประวัติ หรือ ศาล หรือ องค์กรอิสระ
               วินิจฉัยว่ามีความผิด ไม่ควรได้รับการแต่งตั้ง

                                     - ต้องจัดให้มีการอบรมอย่างเข้มข้นแก่สมาชิกรัฐสภา และผู้ให้การอบรมจะต้องเป็น

               บุคคลตัวอย่างและมีความน่าเชื่อถือด้านจริยธรรม

                                     - จัดให้มีโครงการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐสภาอย่างต่อเนื่อง

               ปีละ 2 ครั้ง

                                     - จัดทำโพลสำรวจความเชื่อมั่นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติในแต่ละพื้นที่

                                     - แนวทางการศึกษาและการสำรวจสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ต้องนำมาเปรียบเทียบ

               ย้อนหลังกับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่เกิดขึ้นหลังการปฏิวัติรัฐประหารทั้งหมด

                                     - ในการประเมินสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ควรดูที่วัตถุประสงค์การแต่งตั้ง

               สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยมีเกณฑ์ในการประเมิน อาทิการปฏิบัติหน้าที่ การเข้าร่วมประชุม  การออกเสียงลงมติ
               การออกกฎหมาย การทำหน้าที่เสนอความเห็น การอภิปราย การทุ่มเทต่อการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะของสมาชิก

               ในฐานะกรรมาธิการ เป็นต้น

                                     - วิธีการประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย อาจให้สมาชิกรัฐสภาประเมิน

               ตนเอง ซึ่งมีข้อดี คือ ทำให้สมาชิกรัฐสภาเห็นผลการทำงานของตนเอง แต่เกรงว่าสมาชิกจะประเมินตนเอง
               อย่างลำเอียง หากต้องการให้สมาชิกรัฐสภาประเมินตนเอง ต้องให้สมาชิกรัฐสภาทุกคนประเมินตนเองไปพร้อมกัน
               อย่างไรก็ดี นักวิจัยต้องเข้าร่วมสังเกตการณ์การดำเนินงานของสมาชิกรัฐสภาประกอบด้วย เพื่อให้ได้เนื้อหา

               และผลการประเมินที่ใกล้เคียงความเป็นจริงด้วย







            การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148