Page 144 - kpiebook63019
P. 144

139






                                     - ให้นำงบประมาณการแต่งตั้งบุคคลผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน

               ของสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดมารวมเป็น “งบประมาณกองกลาง” เพื่อใช้ในการแต่งตั้งให้บุคคลเหล่านี้ทำงาน
               ด้านการวิจัย โดยคณะกรรมาธิการตั้งโจทย์ให้ศึกษาวิจัย พร้อมกับลงพื้นที่เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน

               ในแต่ละเรื่องและการศึกษาเปรียบเทียบงานของต่างประเทศ เพื่อนำมาใช้ประกอบกับการพิจารณากฎหมาย

                                     - ให้สถาบันพระปกเกล้าเป็นหน่วยงานสนับสนุนงานวิชาการให้รัฐสภาอย่างจริงจัง

                                     - ควรจัดให้มีการอบรมปลูกฝังจิตสำนึกให้แก่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

               โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกการทำหน้าที่ภารกิจของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทั้งนี้หลักสูตรดังกล่าว
               เป็นการอบรมนักการเมืองในลักษณะ Refresh เพื่อสร้างนักการเมืองที่มีคุณภาพ เช่นเดียวกับวิธีการของ

               ประเทศอังกฤษ ตามประมวลจริยธรรมของประเทศอังกฤษ หลักสูตรดังกล่าวจะแนะนำถึงวิธีการตั้งกระทู้ถาม
               การแปรญัตติ การเสนอกฎหมาย ด้วย


                                     - จัดให้มีโครงการพัฒนาการเรียนรู้ให้แก่ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภา
               ผู้แทนราษฎร และสำนักงานเลขาธิการวุฒสภา เพื่อทำหน้าที่ช่วยสนับสนุนงานของสมาชิกสภานิติบัญญัติ
               แห่งชาติ


                                     - ในการจัดอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพนั้น ควรยึดหลักการว่า ทุกคนควรจะได้มีโอกาส
               ที่จะฝึกอบรมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ในปัจจุบัน ให้ทันต่อสถานการณ์ และทุกคนควรจะมีความรู้ในเรื่องภาษาอังกฤษ

               สิ่งนี้คือสิ่งที่ควรจะอบรมในเรื่องนี้ ทั้งของตนเองและสมาชิกด้วย

                     4.2.6  ผลการดำเนินงานของรัฐสภา ด้านการมีส่วนร่วมในนโยบายระหว่างประเทศ


                     
 
 
 4.2.6.1  ผลการประเมินรัฐสภา ด้านการมีส่วนร่วมในนโยบายระหว่างประเทศในภาพรวม

                     
 
 
 
     
   ผลการประเมินสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ด้านการมีส่วนร่วมในนโยบายระหว่าง
               ประเทศ ในภาพรวมพบว่า มีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.73, S.D. = 0.89) โดยเมื่อ

               พิจารณาตามองค์ประกอบย่อย พบว่าด้านการสร้างความร่วมมือระหว่างรัฐสภาไทยกับรัฐสภานานาชาติ
               มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด โดยมีการดำเนินงานอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 3.16, S.D. = 0.93) รองลงมา คือ
               ด้านขีดความสามารถในการมีส่วนร่วมด้านนโยบายระหว่างประเทศของรัฐสภา มีการดำเนินงานอยู่ในระดับสูง

               (ค่าเฉลี่ย = 3.15, S.D. = 1.54) การได้มาข้อมูลและการมีส่วนร่วมในนโยบายระหว่างประเทศระดับทวิภาคี
               และพหุภาคี มีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.86, S.D. = 0.99) ด้านบทบาทของรัฐสภา

               ในการติดตามและตรวจสอบนโยบายและการปฏิบัติตามพันธะหรือข้อตกลงด้านความช่วยเหลือประเทศ
               มีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.84, S.D. = 1.00) การมีส่วนร่วมในการสร้างพันธะ
               ด้านกฎหมายและการเงินในเวทีระหว่างประเทศ มีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.77,

               S.D. = 1.13) ด้านการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านนโยบายระหว่างประเทศ มีการดำเนินงานอยู่ใน
               ระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.67, S.D. = 1.06) และบทบาทของรัฐสภาในการส่งเสริมการแก้ไขปัญหา











            การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149